อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่เป็นสุนัขที่มีรูปร่างลักษณะ
และโครงสร้างใหญ่กว่าสุนัขพันธุ์เล็กหลายเท่าตัว ทั้งขนาดลำตัว กระโหลกศีรษะ
กระดูก และความสูง ซึ่งหลาย ๆ คนคิดว่าน้องหมาตัวใหญ่มักจะมีร่างกายแข็งแรง ไม่ต้องระมัดระวังอะไรมากเหมือนกับน้องหมาสายพันธุ์เล็กที่ต้องการการดูแล
เอาใจใส่อย่างทนุถนอม ... แต่ในความจริงแล้วน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ก็ต้องการดูแลไม่ต่างจากน้องหมาสายพันธุ์เล็ก ซึ่งผู้เลี้ยงต้องระมัดระวังในการเลี้ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่จะทำลายสุขภาพร่างกายของน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่
ปัญหาน้ำหนักส่วนเกิน
ปัญหาน้ำหนักส่วนเกิน ถือเป็นปัญหาที่พบมากในน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่เลยก็ว่าได้ค่ะ
โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาน้ำหนักส่วนเกินของน้องหมามักจะเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น
อุปนิสัยในการกินของน้องหมา , พันธุกรรม , ช่วงอายุ , เพศ , การทำหมัน
, การออกกำลังกาย , โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ และปัจจัย สำคัญที่ทำให้น้องหมาเกิดปัญหาน้ำหนักส่วนเกินที่ส่งผลให้เป็นโรคอ้วนนั่นก็
คือ วิธีการเลี้ยงดูเรื่องโภชนาการอาหารที่ไม่ถูกวิธีของผู้เลี้ยงนั่นเอง ...
ผู้เลี้ยงบางคนอาจจะคิดว่าน้องหมาของเราเป็นสายพันธุ์ใหญ่ก็ต้องตัวใหญ่
มีน้ำหนักมากเป็นเรื่องธรรมดา แต่รู้ไหมคะว่า น้ำหนักโดยเฉลี่ยของน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ปกติ
(Large Breed) ส่วนมากจะมีน้ำหนักมาตรฐานอยู่ที่ 27 –
45 กิโลกรัม อาทิเช่น น้องหมาสายพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
เยอรมันเชฟเฟิร์ด บ็อกเซอร์ ฯลฯ ส่วนน้องหมาพันธุ์ใหญ่พิเศษ (Extra-Large
Breed) หรือ พันธุ์ยักษ์ (Giant Breed) อย่างเซนต์เบอร์นาร์ด
มาสทิฟฟ์ นิวฟาวด์แลนด์ จะมีน้ำหนักมากกว่า 45 กิโลกรัม ถ้าน้ำหนักของน้องหมาหนักมากกว่ามตราฐานก็แสดงว่าน้องหมาเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน คือ
ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันส่วนเกินมากเกินไป มีน้ำหนักตัวมากกว่า
30% ของน้ำหนักมาตรฐานของสายพันธุ์ ซึ่งสังเกตได้จากรูปร่างของน้องหมาจะมีลักษณะมีไขมันหนาสะสมอยู่ตามบริเวณ
แผ่นหลัง โคนหาง จับหรือคลำกระดูกซี่โครงหรือกระดูกสะโพกไม่ได้ เช็คว่าน้องหมาเป็นโรคอ้วนหรือไม่ได้
ปัญหาน้ำหนักส่วนเกินในน้องหมาสามารถป้องกันได้ไม่ยาก เพียงแค่ผู้เลี้ยงต้องควบคุมปริมาณอาหารที่เหมาะสมให้กับน้องหมาเหมาะกับ
ช่วงวัย ให้อาหารที่มีคุณภาพมีประโยชน์ และอย่าใจอ่อนให้อาหารหรือขนมกับน้องหมาแบบตามใจปาก
รวมไปถึงผู้เลี้ยงเองต้องมีระเบียบวินัยในการให้อาหารน้องหมา และหมั่นพาน้องหมาไปออกกำลังกายและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
เรียกได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ที่เลี้ยงน้องหมาพันธุ์ใหญ่หลาย
ๆ บ้านเลยก็ว่าได้ค่ะ สำหรับปัญหาน้องหมาเป็นโรคกระดูกสะโพก หรือข้อกระดูกต่าง ๆ
เสื่อม ซึ่งโดยส่วนมากแล้วโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่าง
ๆ นี้ มักจะเกิดจาก 2 ปัจจัยหลักคือ
พันธุกรรมและวิธีการเลี้ยงดูของผู้เลี้ยง เช่น การให้อาหารที่ไม่มีประโยชน์มากเกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม
จนทำให้น้องหมาเป็นโรคอ้วน ส่งผลให้น้องหมาต้องแบกรับน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย
ทำให้ข้อต่อในบริเวณต่าง ๆ เกิดการอักเสบ เป็นปัญหาต่อเนื่องถึงกล้ามเนื้อ
กระดูกสันหลัง สะโพก ฯลฯ และอาจเกิดจากการที่ผู้เลี้ยงเลี้ยงน้องหมาในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
เช่น เลี้ยงในบริเวณพื้นลื่นเกินไป รวมถึงช่วงอายุของน้องหมาก็มีส่วนเสริมให้เกิดโรคข้อต่อเสื่อมได้เช่นกัน
ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตอาการของน้องหมาที่มีปัญหาเรื่องข้อต่อเสื่อมได้จากการ อาการต่างๆที่น้องหมาแสดง เช่น เดินเชื่องช้าลง และขยับตัวลำบากขึ้น โดยจะพบอาการเหล่านี้ได้เด่นชัดขึ้นเมื่อน้องหมาเริ่มเข้าสู่ช่วงสูงวัย ซึ่งในน้องหมาบางตัวอาจมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้ สำหรับน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกและข้อ ต่อต่าง ๆ เสื่อม ได้แก่ เยอรมันเชฟเฟิร์ด ,ไซบีเรียน ฮัสกี้ , โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ , ลาบราดอร์ เป็นต้น
ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตอาการของน้องหมาที่มีปัญหาเรื่องข้อต่อเสื่อมได้จากการ อาการต่างๆที่น้องหมาแสดง เช่น เดินเชื่องช้าลง และขยับตัวลำบากขึ้น โดยจะพบอาการเหล่านี้ได้เด่นชัดขึ้นเมื่อน้องหมาเริ่มเข้าสู่ช่วงสูงวัย ซึ่งในน้องหมาบางตัวอาจมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้ สำหรับน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกและข้อ ต่อต่าง ๆ เสื่อม ได้แก่ เยอรมันเชฟเฟิร์ด ,ไซบีเรียน ฮัสกี้ , โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ , ลาบราดอร์ เป็นต้น
สำหรับวิธีการป้องกันไม่ให้น้องหมาเป็นโรคกระดูกและข้อเสื่อมคือ
ผู้เลี้ยงต้องคอยควบคุมเรื่องโภชนาการอาหารให้น้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ ให้อาหารที่มีประโยชน์
ควบคุมดูแลน้ำหนักให้อยู่ในระดับมาตราฐานเพื่อน้องหมาจะได้ไม่ต้องแบกรับ น้ำหนักตัวมาก
อีกทั้งยังช่วยชะลอการเกิดโรคกระดูกและข้อเสื่อมได้อีกด้วยค่ะ ... สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังคิดจะเลี้ยงน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ก็อย่าลืมที่จะศึกษาโรคประจำสาย
พันธุ์ ศึกษาและดูประวัติพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ของน้องหมาก่อนว่า มีปัญหาเกี่ยวกับสะโพก
หรือข้อกระดูกหรือไม่ เพื่อป้องกันโรคที่จะสืบทอดมาจากพ่อแม่ และเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นกันด้วย
นอกจากน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่จะเป็นโรคกระดูกสะโพก
หรือข้อกระดูกต่าง ๆ เสื่อมแล้ว ยังพบว่าน้องหมาพันธุ์ใหญ่ที่มีช่องอกลึกและแคบ
ที่มีน้ำหนักมากกว่า 23 กิโลกรัมขึ้นไป อย่าง เยอรมันเชิฟเฟิร์ด , โดเบอร์แมน
พินเชอร์, อาคิตะ , บลัดฮาวด์ ,
ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ , โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ,
ร็อตไวเลอร์, บ็อกเซอร์ ฯลฯ มีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะกระเพาะอาหารขยายตัวและบิดหมุน
(Gastric dilatation and volvulus) หรือที่เรารู้จักว่า โรคกระเพาะบิด ที่ เกิดจากการที่น้องหมาสายพันธุ์ใหญ่กินอาหารแล้วมักจะไม่เคี้ยวแต่กลืนเลย
ทันที กินอาหารในปริมาณมาก และกินเร็วเพราะต้องแย่งอาหารกันกับสุนัขตัวอื่น เมื่อน้องหมาเคลื่อนไหวหรือกลิ้งตัวกระเพาะก็อาจจะบิดหมุน
ซึ่งผลที่ตามมาคือจะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ เส้นเลือดฉีกขาด ทำให้เสียเลือด
และอาจถึงแก่ชีวิตได้
ฉะนั้น ผู้เลี้ยงจึงต้องระวังในการให้อาหาร ควรเลือกรูปแบบอาหารที่เหมาะกับน้องหมา ไม่ควรให้อาหารชิ้นใหญ่เพราะจะทำให้ติดคอและส่งผลต่อระบบการย่อย การดูดซึมสารอาหาร ควร แบ่งมื้ออาหารเป็นวันละ 2-3 มื้อ ในปริมาณน้อย และฝึกให้น้องหมากินอาหารช้า ๆ และหลีกเลี่ยงการให้ พืชตระกูลถั่ว น้ำอัดลม รวมทั้งอาหารเปียกหรืออาหารเม็ดแช่น้ำ ที่อาจเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารซึ่งจะทำให้น้องหมาท้องอืดได้ง่าย นอกจากนี้ยังควรลดอาหารที่มีไขมันและความชื่นสูง โดยเพิ่มอาหารที่มีไฟเบอร์แทนเพื่อช่วยระบบขับถ่ายจะได้เป็นปกติ
ฉะนั้น ผู้เลี้ยงจึงต้องระวังในการให้อาหาร ควรเลือกรูปแบบอาหารที่เหมาะกับน้องหมา ไม่ควรให้อาหารชิ้นใหญ่เพราะจะทำให้ติดคอและส่งผลต่อระบบการย่อย การดูดซึมสารอาหาร ควร แบ่งมื้ออาหารเป็นวันละ 2-3 มื้อ ในปริมาณน้อย และฝึกให้น้องหมากินอาหารช้า ๆ และหลีกเลี่ยงการให้ พืชตระกูลถั่ว น้ำอัดลม รวมทั้งอาหารเปียกหรืออาหารเม็ดแช่น้ำ ที่อาจเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารซึ่งจะทำให้น้องหมาท้องอืดได้ง่าย นอกจากนี้ยังควรลดอาหารที่มีไขมันและความชื่นสูง โดยเพิ่มอาหารที่มีไฟเบอร์แทนเพื่อช่วยระบบขับถ่ายจะได้เป็นปกติ
ความเครียดไม่ได้เกิดขึ้นกับมนุษย์อย่างเรา ๆ เท่านั้น แต่สัตว์ชนิดอื่น ๆ อย่างน้องหมาเขาก็สามารถเกิดความเครียดได้เช่นเดียวกัน
โดยเฉพาะกับน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ที่มีขนาดตัวและน้ำหนักมากที่มักถูกเลี้ยง ให้นั่ง
ๆ นอน ๆ อยู่แต่ภายในบ้านที่มีสภาพแวดล้อมเหมือนเดิม ซึ่งแตกต่างจากน้องหมาสายพันธุ์เล็กที่เจ้าของมักจะพาออกไปเปิดหูเปิดตาใน
สถานที่ต่าง ๆ เสมอ ... ส่วนมากปัจจัยที่ทำให้น้องหมาเกิดความเครียดมักจะเกิดจากหลายสาเหตุ
เช่น ถูกทิ้งให้อยู่ตัวเดียวเป็นประจำ , ย้ายที่อยู่อาศัย , เปลี่ยนเจ้าของใหม่ , ถูกดุถูกตีตลอดเวลา, ขาดอาหาร , สิ่งแวดล้อมรอบข้างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว , ไม่ได้ออกกำลังกาย
, มีเด็กหรือสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้ามาในบ้าน ฯลฯ สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อถูกสะสมเข้ามาก ๆ
ก็จะทำให้น้องหมาเกิดความเครียดและแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาเช่น ขับถ่ายเรี่ยราด เห่าตลอดเวลา รื้อบ้าน
ทำลายข้าวของ เบื่ออาหาร เซื่องซืม อาเจียน ฯลฯ
ส่วนใหญ่แล้วปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นกับน้องหมา มักจะเป็นปัญหาที่ผู้เลี้ยงมักมองข้ามไปเพราะคิดว่า พฤติกรรมที่น้องหมาแสดงออกมาเป็นความซนปกติของน้องหมา หรือบางคนก็คิดว่าที่น้องหมาซึมเศร้า เบื่ออาหาร คืออาการป่วยจึงพาไปพบสัตวแพทย์ แต่เมื่อตรวจร่างกายแล้วพบว่าร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่ได้เจ็บป่วยทางร่างกายก็ทำให้รู้ว่า น้องหมามีอาการเจ็บป่วยทางจิตใจ นั่นก็คือ ความเครียด นั่นเอง
สำหรับปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นกับน้องหมา ผู้เลี้ยงสามารถป้องกันและแก้ไขได้คือ ผู้เลี้ยงจะต้องรีบหาสาเหตุของความเครียดที่เกิดขึ้นกับน้องหมาว่าเกิดจากอะไร สำรวจดูว่าร่างกายน้องหมามีอาการเจ็บป่วย หรือมีปัจจัยภายนอกอะไรที่กระทบจิตใจของน้องหมาหรือเปล่า และไม่ควรปล่อยให้น้องหมาตกอยู่ในสภาวะเครียดนาน ๆ เพราะความเครียดจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายส่งผลให้ร่างกายของน้องหมาติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าปกติ และเพื่อเป็นการป้องกันผู้เลี้ยงก็ควรใส่ใจดูแล และมอบความรักให้กับน้องหมาอย่างเต็มที่ โดยอย่าลืมที่จะแบ่งเวลาของทุก ๆ วันให้กับน้องหมา เช่น หาของเล่น หรือกิจกรรมต่างๆ มาทำร่วมกันกับน้องหมา พาน้องหมาไปออกกำลังกายนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ การทำแบบนี้จะช่วยป้องกันและลดความเครียดที่เกิดขึ้นกับน้องหมาได้
ส่วนใหญ่แล้วปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นกับน้องหมา มักจะเป็นปัญหาที่ผู้เลี้ยงมักมองข้ามไปเพราะคิดว่า พฤติกรรมที่น้องหมาแสดงออกมาเป็นความซนปกติของน้องหมา หรือบางคนก็คิดว่าที่น้องหมาซึมเศร้า เบื่ออาหาร คืออาการป่วยจึงพาไปพบสัตวแพทย์ แต่เมื่อตรวจร่างกายแล้วพบว่าร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่ได้เจ็บป่วยทางร่างกายก็ทำให้รู้ว่า น้องหมามีอาการเจ็บป่วยทางจิตใจ นั่นก็คือ ความเครียด นั่นเอง
สำหรับปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นกับน้องหมา ผู้เลี้ยงสามารถป้องกันและแก้ไขได้คือ ผู้เลี้ยงจะต้องรีบหาสาเหตุของความเครียดที่เกิดขึ้นกับน้องหมาว่าเกิดจากอะไร สำรวจดูว่าร่างกายน้องหมามีอาการเจ็บป่วย หรือมีปัจจัยภายนอกอะไรที่กระทบจิตใจของน้องหมาหรือเปล่า และไม่ควรปล่อยให้น้องหมาตกอยู่ในสภาวะเครียดนาน ๆ เพราะความเครียดจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายส่งผลให้ร่างกายของน้องหมาติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าปกติ และเพื่อเป็นการป้องกันผู้เลี้ยงก็ควรใส่ใจดูแล และมอบความรักให้กับน้องหมาอย่างเต็มที่ โดยอย่าลืมที่จะแบ่งเวลาของทุก ๆ วันให้กับน้องหมา เช่น หาของเล่น หรือกิจกรรมต่างๆ มาทำร่วมกันกับน้องหมา พาน้องหมาไปออกกำลังกายนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ การทำแบบนี้จะช่วยป้องกันและลดความเครียดที่เกิดขึ้นกับน้องหมาได้
เรื่องขนสำหรับน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่ผู้เลี้ยงหลาย
ๆ คนมักมองข้ามไป แต่เชื่อไหมคะว่า ปัญหาเรื่องขนก็ถือเป็นปัญหาอันดับต้น ๆ
ที่ทำให้น้องหมาเกิดปัญหาสุขภาพ โดย เฉพาะกับน้องหมาพันธุ์ใหญ่ที่มีขนยาวปานกลาง-ขนยาว
อย่าง อลาสกัน มาลามิวท์ , เยอรมันเชิฟเฟิร์ด
, เชาเชา , คอลลี่ ฯลฯ
ที่มักจะพบปัญหาตามจุดสำคัญ ๆ ของร่างกายหลังจากออกไปวิ่งเล่นซนตามสนามหญ้า
หรือพื้นที่แฉะ เช่น ขนบริเวณรอบดวงตา หลัง ก้น หาง
หลังหู ใต้ท้อง ซึ่งขนตามจุดต่าง ๆ นี้ มักพบว่าขนจะพันกันจนกลายเป็นสังกะตังจนเกิดการหมักหมมของเชื้อโรค
ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ หรือบริเวณรอบปากของสุนัขพันธุ์ใหญ่ที่มี
น้ำลายไหลยืดตลอดเวลาอย่าง เซนต์ เบอร์นาร์ด , มาสทิฟฟ์ ,
เคน คอร์โซ่ ฯลฯ ที่อาจเกิดการหมักหมมของคราบน้ำลายได้
ซึ่งวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขนพันกันเป็นสังกะตัง และผิวหนังอักเสบนั้น
ผู้เลี้ยงสามารถทำได้ง่าย ๆ ค่ะ เพียงแค่ผู้เลี้ยงหมั่นสังเกตลักษณะเส้นขนของน้องหมาเป็นประจำ
ตรวจสอบขนรอบตัวน้องหมาว่ามีจุดไหนบ้างที่เริ่มเกิดเป็นปม หรือถ้าหากเจอเศษกิ่งไม้
ใบไม้ ก็ให้หยิบออกทันทีเพื่อลดการเกิดปมสังกะตัง และอาจจะใช้ผ้าชุบน้ำมาเช็ดทำความสะอาดบริเวณรอบดวงตาและรอบปากของน้องหมา
เพื่อช่วยลดจำนวนแบคทีเรียลงก็ได้
ส่วนปัญหาสุขภาพช่องปากของน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ส่วนมากมักพบในช่วงโตเต็ม
วัย-สูงอายุ เช่น โรคปริทันต์ ฟันและเหงือกอักเสบ มีหินปูน ฟันผุ มีกลิ่นปาก
ซึ่งเกิดจากการที่มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน ทำให้มีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและแคลเซียมที่บริเวณฟันจนเกิดเป็นหิน
น้ำลายที่ก่อตัวเป็นหินปูน ทำให้เหงือกและเนื้อเยื่อในช่องปากอักเสบ จึงทำให้กินอาหารได้ลำบาก
ช้าลง และอาจส่งผลต่อน้ำหนักตัวได้
ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก ผู้ เลี้ยงควรแปรงฟันให้น้องหมาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง โดยใช้แปรงสีฟันสำหรับน้องหมา หรืออาจจะหาของเล่นขัดฟันมาให้น้องหมาแทะเล่นเพื่อลดการเกิดหินปูน และ หากน้องหมามีปัญหาช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ปวดฟัน เหงือกอักเสบ ผู้เลี้ยงก็อย่านิ่งนอนใจควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 3 – 6 เดือน เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องหมา
ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก ผู้ เลี้ยงควรแปรงฟันให้น้องหมาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง โดยใช้แปรงสีฟันสำหรับน้องหมา หรืออาจจะหาของเล่นขัดฟันมาให้น้องหมาแทะเล่นเพื่อลดการเกิดหินปูน และ หากน้องหมามีปัญหาช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ปวดฟัน เหงือกอักเสบ ผู้เลี้ยงก็อย่านิ่งนอนใจควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 3 – 6 เดือน เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องหมา
ตามหน้าหนังสือพิพม์ในช่วง 1- 2 ปีที่ผ่านมา เรามักพบข่าวของน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ยอดนักสู้อย่าง
ร็อตไวเลอร์ กัดเด็ก คนแก่หรือคนอื่น ๆ ในครอบครัว ซึ่งทำให้คนที่กำลังเลี้ยงน้องหมาสายพันธุ์นี้ปล่อยทิ้งน้องหมาจนเกิดเป็น
ภาระสังคม ... ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นจากตัวผู้เลี้ยงที่ไม่ได้ทำการศึกษาสายพันธุ์
น้องหมาว่า ควรเลี้ยงแบบไหน และเลี้ยงอย่างไรจึงจะถูกวิธี
อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับความสัมพันธ์และความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัวสำหรับ การเลือกสายพันธุ์สุนัข ที่ผู้เลี้ยงต้องใส่ใจเป็นอันดับแรกก่อนที่จะตัดสินใจรับน้องหมาเข้ามาเลี้ยง โดย ผู้เลี้ยงควรศึกษาประวัติสายพันธุ์ ลักษณะนิสัย พฤติกรรม และโรคประจำสายพันธุ์ของน้องหมาก่อนว่า เหมาะที่จะเลี้ยงร่วมกันกับเด็กหรือคนแก่ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านหรือไม่ และต้องปรึกษาขอความเห็นจากสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวก่อนว่า สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวยินดีที่จะให้เลี้ยงน้องหมาหรือเปล่า เพราะสมาชิกในแต่ละครอบครัวก็มีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบน้องหมา การถามความคิดเห็นและความยินยอมจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงน้องหมาได้เป็นอย่างดี และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปล่อยทิ้งน้องหมาที่เป็นปัญหาของสังคมในภายหลัง .
ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงน้องหมาสายพันธุ์ดุมาอยู่กับครอบครัวที่มีเด็กหรือคนแก่จะดีที่สุด เพราะน้องหมาสายพันธุ์ดุจะมีสัญชาตญาณนักล่าอยู่ในตัว หากวันไหนน้องหมาถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยต่าง ๆ เช่น ถูกเด็ก ๆ แหย่ แกล้งให้รำคาญ ก็อาจจะทำให้น้องหมาควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ และทำร้ายเด็กหรือคนแก่ได้
อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับความสัมพันธ์และความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัวสำหรับ การเลือกสายพันธุ์สุนัข ที่ผู้เลี้ยงต้องใส่ใจเป็นอันดับแรกก่อนที่จะตัดสินใจรับน้องหมาเข้ามาเลี้ยง โดย ผู้เลี้ยงควรศึกษาประวัติสายพันธุ์ ลักษณะนิสัย พฤติกรรม และโรคประจำสายพันธุ์ของน้องหมาก่อนว่า เหมาะที่จะเลี้ยงร่วมกันกับเด็กหรือคนแก่ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านหรือไม่ และต้องปรึกษาขอความเห็นจากสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวก่อนว่า สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวยินดีที่จะให้เลี้ยงน้องหมาหรือเปล่า เพราะสมาชิกในแต่ละครอบครัวก็มีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบน้องหมา การถามความคิดเห็นและความยินยอมจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงน้องหมาได้เป็นอย่างดี และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปล่อยทิ้งน้องหมาที่เป็นปัญหาของสังคมในภายหลัง .
ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงน้องหมาสายพันธุ์ดุมาอยู่กับครอบครัวที่มีเด็กหรือคนแก่จะดีที่สุด เพราะน้องหมาสายพันธุ์ดุจะมีสัญชาตญาณนักล่าอยู่ในตัว หากวันไหนน้องหมาถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยต่าง ๆ เช่น ถูกเด็ก ๆ แหย่ แกล้งให้รำคาญ ก็อาจจะทำให้น้องหมาควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ และทำร้ายเด็กหรือคนแก่ได้
แหล่งที่มา https://sites.google.com
No comments:
Post a Comment