Thursday, February 2, 2017

ข้อแนะนำ การเลี้ยงสุนัข ที่ดี ให้สุนัขแข็งแรง อายุยืน



1. สุนัขต้องได้รับอาหารและน้ำเพื่อบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม

 -   จะต้องมีน้ำสะอาดกินตลอดเวลา

 -   กินอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีการคำนวณสูตรอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารถูกต้องและครบถ้วนตามสายพันธุ์และอายุ

-    มีอาหารกินอย่างเพียงพอ เพราะถ้าให้น้อยเกินไปจนทำให้สุนัขอดโซ ผอมแห้ง จะทำให้ระบบภูมิคุ้นกันของร่างกายต่ำจึงเกิดโรคต่างๆตามมาได้ง่าย

-    อาหารที่ให้ต้องไม่มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน

-    มีการให้อาหารตรงเวลา เพื่อเป็นการฝึกนิสัยที่ดีให้กับสุนัข และป้องกันการเกิดโรค เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

-    ถาดใส่อาหารจะต้องมีการล้างทำความสะอาดทุกครั้ง เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นจากอาหารเก่าที่กินไม่หมด เกิดการเน่าเสียได้



 2. สุนัขต้องมีที่อยู่อาศัยอย่างสะดวกสบายตามสมควร

-    สถานที่เลี้ยงสุนัขควรมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ อากาศต้องมีการถ่ายเทสะดวก เพื่อลดปัญหากลิ่นเหม็นที่รบกวนทั้งตัวน้องหมาเอง และเจ้าของด้วย

-    พื้นที่ต่อตัวสำหรับบริเวณที่เลี้ยงสุนัข ต้องมีปริมาณเพียงพอ ไม่อยู่กันอย่างแออัดมากจนเกินไป เพราะจะทำให้สุนัขเครียดและเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

-    พื้นที่ที่เลี้ยงควรมีพื้นที่ให้วิ่งเล่นทั้งกลางแจ้งและที่ร่มสำหรับนอนพัก รวมไปถึงหลบฝนได้อีกด้วย

-    กรณีที่เลี้ยงไว้ในกรง เมื่อเลี้ยงไว้สักพัก สุนัขก็จะตัวใหญ่มากขึ้น จึงควรเปลี่ยนขนาดกรงให้ใหญ่ขึ้นตามขนาดตัว เพื่อไม่ให้สุนัขอึดอัด และเกิดความเครียดได้เช่นกัน

-    นอกจากสุนัขอาจจะหงุดหงิดการกรงไปแคบไปแล้ว อาจจะอึดอัดจากการสวมเสื้อที่แน่นจนหายใจไม่ค่อยสะดวก ดังนั้นหากต้องการจะใส่จริงๆ ควรมีการเลือกขนาดเสื้อให้เหมาะสม รวมไปถึงเนื้อผ้า และความสะอาดของเสื้อที่จะสวมให้สุนัขอีกด้วย



 3. สุนัขต้องได้รับการดูแลและบริการสุขภาพที่ดี

-    มีการฉีดวัคซีนสุนัขครบ ทั้งวัคซีนรวมและพิษสุนัขบ้า

 -   ถ่ายพยาธิสุนัขทุก 3-6 เดือนด้วยยาที่มีประสิทธิภาพ

 -   แยกสุนัขที่ป่วยออกจากสุนัขตัวอื่น เพื่อลดโอกาสการติดโรคระหว่างกัน

 -   มีการพบสัตวแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพ

 -   ถ้าเกิดเจ็บป่วย มีการพาไปรักษาโดยสัตวแพทย์ทันที เพื่อให้มีการรักษาได้อย่างทันท่วงที




  
4. สุนัขได้รับการปฏิบัติด้วยความเมตตาและทะนุถนอม

-    การลงโทษควรเลือกใช้วิธีที่นิ่มนวล และไม่ควรทำร้ายจนสุนัขตื่นกลัว ถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายไม่ได้

-    สุนัขที่ตัวเล็กกว่า ถูกแยกออกจากสุนัขตัวใหญ่ที่คอยเห่าขู่

-    สุนัขที่เป็นคู่อริกัน มีการแยกออกจากกัน

-    สุนัขไม่เคยกัดคนเลี้ยง หรือกัดเด็ก เพราะการกัดคนเลี้ยงหรือเด็กที่อ่อนแอกว่า อาจเกิดจากการที่ถูกทำร้ายมากๆ เกิดอาการเก็บกด จนต้องระบายออกมาด้วยวิธีการนี้



 
5. สุนัขได้รับโอกาสแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ

-    มีที่วิ่งเล่นอย่างเพียงพอ และมีของเล่น เช่น ลูกบอล ตามสมควร

-    สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนและสุนัขอื่นตามสมควร

-    สามารถ กระดิกหาง และเห่าได้ตามสมควร (ไม่มีการตัดหางหรือตัดสายเสียง) เนื่องจาก การกระดิกหางและการเห่าเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งของน้องหมานั่นเอง



อ้าง อิงจาก http://www.vetmu.com/index.php?option=com_content&view=article&id=88:-five-freedom&catid=41:2009-04-03-22-29-30&Itemid=63
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/346847608809379383/

No comments:

Post a Comment