โรคฮีทสโตรก โรคร้ายในหน้าร้อนที่เจ้าของสุนัขควรศึกษาวิธีสังเกตอาการ ดูแลรักษา
และป้องกันเอาไว้ ก่อนที่หน้าร้อนอันแสนสนุกของคุณกับสุนัข จะกลายเป็นความเศร้า
ถึงแม้หน้าร้อนจะเป็นช่วงที่สุนัขสามารถออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องฝน
แต่ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกขณะ
บางครั้งความร้อนก็กลับกลายเป็นอาวุธที่ทำให้สุนัขเสียชีวิตได้เนื่องจากโรคฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือโรคลมแดด ดังนั้นก่อนที่น้องหมาจะเป็นอะไรไป
กระปุกดอทคอมได้รวบรวมข้อมูลทั้ง สาเหตุ อาการ วิธีการดูแลรักษา
และป้องกันโรคฮีทสโตรกในน้องหมามาฝากกัน
ที่มาของโรคฮีทสโตรกในสุนัข
โรคฮีตสโตรกจะเกิดขึ้นกับสุนัขที่สูญเสียการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย เนื่องจากสุนัขไม่ได้ขับเหงื่อทางร่างกายเหมือนกับคน แต่จะระบายความร้อนผ่านการหายใจ ซึ่งถ้าหากสุนัขอยู่ในบริเวณที่มีการถ่ายเทความร้อนได้ไม่รวดเร็วพอ ก็จะทำให้เป็นโรคฮีทสโตรกได้ เพราะโดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายของสุนัขจะอยู่ที่ประมาณ 38-39 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเมื่อไร ก็จะแสดงอาการของโรคฮีทสโตรกให้เห็น และจะเริ่มเป็นอันตรายกับตับ ไต หัวใจ รวมไปถึงสมอง เมื่อร่างกายของสุนัขมีอุณหภูมิสูงถึง 41-42 องศา นอกจากนี้จริง ๆ แล้วโรคฮีตสโตรกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาและทุกฤดู เพียงแต่ว่าช่วงหน้าร้อนเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากที่สุดเท่านั้น
โรคฮีตสโตรกจะเกิดขึ้นกับสุนัขที่สูญเสียการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย เนื่องจากสุนัขไม่ได้ขับเหงื่อทางร่างกายเหมือนกับคน แต่จะระบายความร้อนผ่านการหายใจ ซึ่งถ้าหากสุนัขอยู่ในบริเวณที่มีการถ่ายเทความร้อนได้ไม่รวดเร็วพอ ก็จะทำให้เป็นโรคฮีทสโตรกได้ เพราะโดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายของสุนัขจะอยู่ที่ประมาณ 38-39 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเมื่อไร ก็จะแสดงอาการของโรคฮีทสโตรกให้เห็น และจะเริ่มเป็นอันตรายกับตับ ไต หัวใจ รวมไปถึงสมอง เมื่อร่างกายของสุนัขมีอุณหภูมิสูงถึง 41-42 องศา นอกจากนี้จริง ๆ แล้วโรคฮีตสโตรกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาและทุกฤดู เพียงแต่ว่าช่วงหน้าร้อนเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากที่สุดเท่านั้น
อาการโรคฮีทสโตรกในสุนัข
อาการโรคฮีตสโตรกสามารถสังเกตได้จากการที่สุนัขแลบลิ้นออกมามากจนผิดปกติ มีอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก กระหายน้ำรุนแรง น้ำลายเหนียวหรือยืด เหงือกมีสีแดงเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินหรือม่วง เหงือกหรือจมูกแห้ง มีอาการเซ สับสนมึนงง ชัก อาเจียนบ่อย ท้องเสียเฉียบพลัน นอนนิ่งเกร็งขาทั้ง 4 ข้าง ตามตัวมีอุณหภูมิสูง อีกทั้งอาจจะเลือดกำเดาไหลหรือชัดร่วมด้วย หากอาการรุ่นแรงก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการโรคฮีตสโตรกสามารถสังเกตได้จากการที่สุนัขแลบลิ้นออกมามากจนผิดปกติ มีอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก กระหายน้ำรุนแรง น้ำลายเหนียวหรือยืด เหงือกมีสีแดงเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินหรือม่วง เหงือกหรือจมูกแห้ง มีอาการเซ สับสนมึนงง ชัก อาเจียนบ่อย ท้องเสียเฉียบพลัน นอนนิ่งเกร็งขาทั้ง 4 ข้าง ตามตัวมีอุณหภูมิสูง อีกทั้งอาจจะเลือดกำเดาไหลหรือชัดร่วมด้วย หากอาการรุ่นแรงก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคฮีทสโตรกในสุนัขมีความแตกต่างกันไปตามขนาดรูปร่างของสุนัขและระยะเวลาที่อยู่ในที่ร้อนจัด
ยิ่งอยู่ในพื้นที่นานและร้อนจัดมาก ๆ ก็ยิ่งเป็นอันตรายกับสุนัขมากขึ้น
วิธีดูแลและรักษาเมื่อมีอาการฮีทสโตรก
1. นำสุนัขออกจากบริเวณที่มีความร้อนสูง
หากเป็นไปได้ควรพาสุนัขมาอยู่ในที่ร่มที่มีลมโกรก
หรือบริเวณที่มีไอเย็นจากเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ควรห้ามไม่ให้สุนัขออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง
และวิ่งเล่นกลางแดดในช่วงเวลาดังกล่าว จนกว่าจะตรวจเช็กจนมั่นใจว่า
สุนัขหายเป็นปกติแล้ว
2. ให้สุนัขดื่มน้ำเย็น
ในระหว่างนี้ควรให้สุนัขดื่มน้ำเย็นหรือน้ำอุณหภูมิห้องทีละน้อย
เพราะถ้าปล่อยให้สุนัขดื่มน้ำมากเกินไปในเวลาอันรวดเร็ว อาจทำให้สุนัขอาเจียนได้
ส่วนในกรณีที่สุนัขไม่สนใจให้ใช้น้ำซุปไก่หรือน้ำซุปเนื้อแทนได้
แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรบังคับให้สุนัขดื่มน้ำ หากสุนัขไม่ยอมดื่มด้วยตัวเอง
3. หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเย็นเช็ดตัว
เจ้าของสุนัขสามารถใช้ผ้าเย็นเช็ดตัวสุนัขเพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายได้
โดยเฉพาะบริเวณใต้อุ้งเท้าและใต้ท้อง แต่ไม่ควรใช้ผ้าเย็นห่มตัวสุนัขทิ้งไว้
เพราะนอกจากจะเป็นการลดการระบายอากาศแล้ว
ยังเป็นการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายของสุนัขด้วย อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงสถานที่ปิด
เช่น กรงสุนัข แต่ให้พาสุนัขไปอยู่ในที่มีการถ่ายเทอากาศดี
ก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้
3. รดน้ำบนตัวสุนัข
ควรใช้น้ำที่มาจากก๊อกน้ำหรือสายยางรดน้ำลงบนตัวสุนัขด้วยระดับความดันน้ำที่ไม่แรงจนเกินไป
และพยายามหลีกเลี่ยงการพาสุนัขไปแช่น้ำโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำ
เพราะการแช่น้ำจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายของสุนัขลดลงเร็วเกินไป
ก็จะทำให้มีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน หรือท้องอืด
4. พาไปพบสัตวแพทย์
ถึงแม้จะดูแลเป็นอย่างดีแต่ก็ไม่ควรวางใจเสียทีเดียว
หากเป็นไปได้ควรพาไปพบสัตวแพทย์ด้วย เพราะแม้ภายนอกจะดูเป็นปกติดี
แต่อวัยวะภายในร่างกายของสุนัขอาจมีบางส่วนที่เกิดความเสียหายจากโรคฮีตสโตรกได้
และถ้าหากไม่วินิจฉัยให้ละเอียดก็อาจทำให้สุนัขถึงตายได้
5. ใช้แอลกอฮอล์ลูบใต้ฝ่าเท้า
เนื่องจากสุนัขระบายความร้อนที่ผ่านผิวหนังใต้อุ้งเท้า
ฉะนั้นการใช้แอลกอฮอล์ลูบที่บริเวณดังกล่าวก็ช่วยให้การระบายความร้อนในร่างกายดีขึ้น
ส่วนปริมาณของแอลกอฮอล์ไม่ควรใช้มากเกินไป
เพราะจะเป็นอันตรายหากสุนัขเผลอเลียอุ้งเท้า
วิธีป้องกันการเกิดโรคฮีทสโตรก
1. เลี่ยงต้นเหตุของโรคหรือทำให้อาการกำเริบ
สุนัขที่มีอายุมาก เป็นโรคอ้วน
และเคยมีประวัติโรคฮีตสโตรก หรือโรคชักมาก่อน มีโอกาสที่เป็นโรคฮีทสโตรกได้ง่าย
จึงทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าสุนัขทั่วไปโดยเฉพาะสุนัขจมูกสั้น เช่น ปั๊ก
หรือบูลด็อก ส่วนสุนัขพันธุ์อื่น ๆ ก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีสภาพอากาศร้อนจัดไว้ก่อนจะดีกว่า
2. ไม่ควรปล่อยให้สุนัขอยู่ในรถ
หากไม่จำเป็นจริง ๆ ในช่วงฤดูร้อนไม่ควรให้สุนัขอยู่ในรถ
ถึงแม้ว่าอากาศภายในรถจะไม่ร้อน หรือเปิดหน้าต่างรถทิ้งไว้ก็ตาม
เพราะอุณหภูมิในรถช่วงฤดูร้อนแบบนี้สามารถเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที
ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายกับสุนัขมากทีเดียว
3. ตัดแต่งขนสุนัข
ในหน้าร้อนแบบนี้เจ้าของควรพาสุนัขไปโกนหรือตัดขนให้สั้นลงด้วย
โดยเฉพาะสุนัขที่มีขนทั้งหนาและยาว เพื่อลดความสะสมความร้อน
ที่สำคัญหากเป็นไปได้ควรพาสุนัขไปตัดขนกับผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อจะได้ออกแบบขนไปในตัวด้วย
4. นำสุนัขมาเลี้ยงไว้ในบ้านในวันที่มีแดดร้อนจัด
หากอากาศร้อนจัดควรพาสุนัขมาอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
ระหว่างวันที่มีแดดร้อนมาก ๆ หากไม่สามารถทำได้ก็ควรพาสุนัขไปอยู่ในที่ที่มีร่มเงา
และมั่นใจว่าปลอดภัยกับสุนัขแทน
5. จัดหาน้ำและที่ร่มให้
สำหรับบ้านที่เลี้ยงสุนัขไว้นอกบ้านควรเตรียมน้ำ
และหาที่พักที่มีร่มเงาไว้ให้กับสุนัขด้วย
นอกจากนี้ยังมีบางคนเทน้ำแข็งลงบนพื้นเอาไว้ให้สุนัขนอนกลิ้งในวันที่มีอากาศร้อนอีกต่างหาก
6. พาสุนัขไปเล่นน้ำ
หากบ้านอยู่ใกล้กับแม่น้ำ หรือมีสระน้ำอยู่ในบ้าน
ก็ควรหาโอกาสพาสุนัขไปเล่นน้ำ หรือไม่ก็ใช้น้ำลูบตัวสุนัขบ้าง
ก็จะช่วยป้องกันโรคฮีทสโตรกได้ทางหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามไม่ควรให้สุนัขลงเล่นน้ำลึกจนเกินไปนัก
หากสุนัขมีทักษะการว่ายน้ำไม่ดีพอ
และนี่คือโรคร้ายที่ก่ออันตรายให้กับสุนัขซึ่งเจ้าของควรระวัง
ถึงแม้ไม่เคยมีประวัติก็อาจเป็นได้ อีกทั้งยังเป็นอันตรายถึงชีวิต
ฉะนั้นเตรียมพร้อมรับมือเอาไว้ก่อนกันดีกว่านะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก wikihow,
thesprucepets, โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ และ
***อัปเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562