ทำความรู้จัก
5 โรคสัตว์เลี้ยงที่มาพร้อมหน้าฝน
มาดูกันว่า ในช่วงหน้าฝนมีโรคอะไรที่หมา-แมวต้องระวังเป็นพิเศษบ้าง
รู้ก่อนจะได้หาทางป้องกันไว้ ก่อนสัตว์เลี้ยงป่วย
แม้ฤดูฝนจะเป็นช่วงที่อากาศกำลังเย็นสบาย
ไม่อบอ้าวเหมือนหน้าร้อน แต่ทว่าก็เป็นอีกหนึ่งฤดูที่มาพร้อมกับโรคต่าง ๆ
ไม่ใช่เกิดขึ้นกับตัวเราเท่านั้ แต่รวมถึง หมา-แมว สัตว์เลี้ยงตัวน้อยด้วย
วันนี้กระปุกดอทคอมเลยนำ 5 โรคที่เป็นอันตรายกับสัตว์เลี้ยง ที่ควรระวังในช่วงหน้าฝนมาให้เจ้าของได้รู้จักว่า
มีโรคอะไรบ้างที่ควรระวังในช่วงหน้าฝน จะได้หาทางป้องกันเอาไว้ก่อนตั้งแต่ตอนนี้
1. โรคฉี่หนู
โรคฉี่หนู หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม เลปโตสไปรา อินเทอโรแกนส ( Leptospira Interrogans) ส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากการสัมผัสกับน้ำ ดิน โคลน หรือฉี่ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เมื่อเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ก็จะกระจายตัวไปตามอวัยวะต่าง ๆ ผ่านทางเส้นเลือด ซึ่งกลุ่มสัตว์ที่มีความเสี่ยงที่เป็นโรคฉี่หนูมากที่สุดคือ สัตว์ที่มีอายุน้อยและหมา-แมวที่เลี้ยงนอกบ้าน แต่ทั้งนี้สามารถป้องกันได้โดยการไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้าไปเล่นหรือกินน้ำจากบริเวณที่มีน้ำขัง พร้อมทั้งหมั่นดูแลที่นอนและของใช้ของสัตว์เลี้ยงให้สะอาดอยู่เสมอ
2. โรคพยาธิหนอนหัวใจ
อีกหนึ่งโรคอันตรายที่อยากให้ระวังเป็นพิเศษในช่วงหน้าฝนและเป็นฤดูที่มียุงชุมชุม
เพราะ "ยุง" เป็นพาหะของโรคชนิดนี้
จากการที่ยุงไปกัดสัตว์ที่มีตัวอ่อนของพยาธิแล้วมากัดสัตว์เลี้ยงของเรา
เมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายก็จะไปเกาะอยู่ตรงบริเวณหัวใจและเส้นเลือด โดยมีอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ก็คือ
ไอแห้ง ๆ, เป็นลม, เหนื่อยง่าย
มีน้ำสะสมในช่องท้อง ทำให้ท้องขยายใหญ่ หรือที่เรียกว่า ท้องมาน
ทั้งนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดยา ให้ยากิน และใช้ยาหยอดหลัง
3. โรคระบบทางเดินหายใจ
สำหรับกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้หวัด
และหลอดลมอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย
โดยเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงทุกช่วงอายุ
แต่ส่วนใหญ่มักจะพบในสัตว์เลี้ยงที่มีอายุน้อยมากกว่าช่วงโตเต็มวัย
เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่
ส่วนสาเหตุก็เกิดจากการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยหรือเชื้อโรคที่แฝงอยู่ตามสถานที่ต่าง
ๆ และสัตว์ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรค
ทั้งนี้สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงค่ะ
โรคพยาธิเม็ดเลือด
โรคพยาธิในเม็ดเลือด เกิดจากเชื้อโปรโตซัวและริคเก็ตเซีย โดยมีเห็บเป็นพาหะนำโรค สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อจะสังเกตอาการได้ยาก และการแสดงอาการก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ได้รับเข้าไป ทั้งนี้สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคได้ โดยการกำจัดเห็บออกจากที่พักอาศัย ไม่ให้สัตว์เลี้ยงออกไปคลุกคลีกับสัตว์จรจัด และพาไปตรวจสุขภาพอย่างเสมอ เพื่อเฝ้าระวังโรคและขอคำแนะนำการดูแลที่ถูกวิธี
5. โรคผิวหนัง
โรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยงมีด้วยกัน 2 กลุ่มคือ โรคผิวหนังที่เกิดจากปรสิตกับไร และโรคผิวหนังที่เกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรระวังเป็นเป็นพิเศษ โดยส่วนมากจะเกิดกับสัตว์เลี้ยงที่มีอายุน้อยและสัตว์เลี้ยงที่มีอายุมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งบริเวณที่ติดเชื้อราจะมีขนร่วงเป็นวงและมีอาการคันร่วมด้วย โดยมากมักจะพบที่ใบหูด้านใน ง่ามนิ้ว รอบจมูก และรอบดวงตา
ตอนนี้ก็เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพของน้องหมา-น้องแมวกันด้วย โดยเฉพาะ 5 โรคที่มากับฝนเหล่านี้ พร้อมทั้งหาทางป้องกันเอาไว้ จะได้ไม่ล้มป่วยเพราะโรคเหล่านี้
โรคพยาธิในเม็ดเลือด เกิดจากเชื้อโปรโตซัวและริคเก็ตเซีย โดยมีเห็บเป็นพาหะนำโรค สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อจะสังเกตอาการได้ยาก และการแสดงอาการก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ได้รับเข้าไป ทั้งนี้สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคได้ โดยการกำจัดเห็บออกจากที่พักอาศัย ไม่ให้สัตว์เลี้ยงออกไปคลุกคลีกับสัตว์จรจัด และพาไปตรวจสุขภาพอย่างเสมอ เพื่อเฝ้าระวังโรคและขอคำแนะนำการดูแลที่ถูกวิธี
5. โรคผิวหนัง
โรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยงมีด้วยกัน 2 กลุ่มคือ โรคผิวหนังที่เกิดจากปรสิตกับไร และโรคผิวหนังที่เกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรระวังเป็นเป็นพิเศษ โดยส่วนมากจะเกิดกับสัตว์เลี้ยงที่มีอายุน้อยและสัตว์เลี้ยงที่มีอายุมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งบริเวณที่ติดเชื้อราจะมีขนร่วงเป็นวงและมีอาการคันร่วมด้วย โดยมากมักจะพบที่ใบหูด้านใน ง่ามนิ้ว รอบจมูก และรอบดวงตา
ตอนนี้ก็เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพของน้องหมา-น้องแมวกันด้วย โดยเฉพาะ 5 โรคที่มากับฝนเหล่านี้ พร้อมทั้งหาทางป้องกันเอาไว้ จะได้ไม่ล้มป่วยเพราะโรคเหล่านี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ, HonestDocs, โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน, โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, เฟซบุ๊ก VPN Magazine และ ศูนย์กายภาพและผิวหนังสัตว์เลี้ยง
No comments:
Post a Comment