คุณรู้ไหมว่า ทุกครั้งที่คุณโยนเศษกระดูกให้น้องหมาสุดรัก เท่ากับว่าคุณได้ลดอายุไขของเขาให้สั้นลง เพราะการให้กระดูกไม่ว่าจะเป็นอย่างสุกหรืออย่างดิบ ที่ไม่ใช่กระดูกสำหรับเจ้าตูบเป็นประจำนั้น จะส่งผลให้เกิดอันตรายกับร่างกายเขา และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเขาได้ กระดูกของเล่นที่ทำขึ้นสำหรับเป็นของเล่น สามารถจะแตกย่อยสลาย และไม่มีคมเวลากลืนลงไป แต่กระดูกจริง ๆ ของสัตว์ต่าง ๆ ที่ให้น้องตูบนั้น จะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ชิ้นเล็ก ๆ ส่งผลให้เศษกระดูกทิ่มตำในช่องปาก รวมถึงระบบย่อยอาหารของสุนัขด้วย ผลเสียใหญ่หลวงที่ไม่ควรเสี่ยงให้สุนัขกินกระดูกก็คือ
กระดูก อาจทำให้เกิดอันตรายภายในช่องปากของสุนัขได้ เนื่องจากกระดูกที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจะมีลักษณะแหลมคม ในขณะที่น้องตูบของเรากำลังเพลิดเพลินกับการเคี้ยวกระดูกอยู่ เศษกระดูกก็อาจจะบาดปาก หรือลิ้นของเขา ทำให้เกิดบาดแผลในช่องปาก และกระดูกที่แข็งเกินไป ก็อาจทำให้สุนัขฟันหักได้เหมือนกัน ถึงคราวนี้จะกินอะไรก็คงกินได้ไม่อร่อยเหมือนเดิม หมดหล่อ หมดสวยกันไปเลย แถมเจ้าของก็ยังจะหมดเงินอีกด้วย...
กระดูก อาจไปติดที่หลอดลมทำให้น้องตูบหายใจไม่ออก หากสงสัยว่าน้องตูบของคุณกินกระดูกเข้าไป ให้รีบโทรหาสัตวแพทย์โดยด่วนที่สุด กระดูกที่ติดบริเวณหลอดอาหารอาจเอาออกได้โดย เครื่องเอ็นโดสโคปซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำจากใยแก้วสามารถโค้งได้สำหรับศัลยแพทย์ใช้โดยไม่ต้องผ่าตัด
กระดูก อาจไปอุดตันที่หลอดอาหาร เศษกระดูกจะติดอยู่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของช่องทางเดินอาหารทำให้เกิดการอุดตัน อาจทำให้อาหารที่กินเข้าไปไม่สามารถผ่านช่องทางเดินนั้นได้ ทางเดินอาหารของเจ้าตูบก็จะถลอก เขาอาจจะอาเจียนเอาสิ่งที่กินเข้าไปออกมา บางครั้งมีเลือดปนมาด้วย และอาจจะมีอาการท้องร่วง (อาจมีเลือด ปนด้วยเช่น) แต่ถ้าเขาไม่อาเจียน สัตวแพทย์อาจให้กินอาหารที่มีใยอาหารสูง และเฝ้าดูอาการของตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่สัตวแพทย์ก็จะให้คุณพาน้องตูบมาที่คลินิกเพื่อเอ็กซเรย์ช่องท้องของเจ้าตูบดูว่ากระดูกอยู่บริเวณไหน และอาจจะเอ็กซเรย์ซ้ำอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไปเพื่อให้แน่ใจว่ากระดูกหลุดออกไปแล้วหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที จะทำให้ช่องทางเดินอาหารทะลุ หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย
วิธีการรักษามีเพียงวิธีเดียวคือ การผ่าตัดน้องตูบต้องรับการผ่าตัดถ้ากระดูกยังติดอยู่ ก่อนผ่าสุนัขจะถูกวางยาสลบ สำหรับกระดูกที่ติดอยู่ในท้องนั้นบางครั้งใช้เครื่องเอ็นโดสโคปเอาออกได้ แต่ปกติแล้วจะเอาออกโดยการผ่าตัดมากกว่า ส่วนกระดูกที่ติดอยู่ที่ลำไส้เล็กจะต้องผ่าตัดเอาออกเสมอ ถ้ากระดูกไม่ได้ติดอยู่บริเวณใดเลยก่อนที่จะมาถึงลำไส้ใหญ่ มันก็จะไม่ติดอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ
กระดูกอาจจะทำให้ช่องทางเดินอาหารทะลุ ทำให้เลือด เพราะส่วนที่แหลมของกระดูกจะครูตและบาดช่องทางเดินอาหารของสุนัขจากหลอดอาหาร ไปจนถึงลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ทางเดินอาหารถลอกหรือทะลุได้ และถ้าหากทางเดินอาหารทะลุ เจ้าตูบ จะป่วยหนัก เชื่องซึม ไม่อยากลุก อึดอัด และส่งเสียงคำรามเมื่อถูกจับบริเวณท้อง กินไม่ได้และมีใช้ร่วมด้วย ในภาวะเช่นนี้อาจทำให้สุนัข ช็อกและดายได้ถ้าไมได้รับการรักษา กระดูก อาจแทงทะลุลำไส้ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ช่องท้อง
กระดูก หากกินเยอะเกินไป น้องตูบก็จะประสบภาวะท้องอืด เจ้าของอาจต้องลำบากช่วยสวนทวาร โอ้!!!! ไม่อยากจะคิดลำบากทั้งคนทั้งหมาเลยทีนี้
กระดูก บางครั้งที่เคลื่อนผ่านทางเดินอาหารได้ แต่อาจจะมาติดอยู่ที่ช่องทวาร โดยร่างกายสุนัขจะพยายามขับกระดูกออกมาออกมาพร้อมอุจระ บางครั้งกระดูกอาจทิ่มทะลุออกมาที่ปากทวารหนักจนทำให้เกิดแผลเน่าเปื่อยขึ้นได้ จะสังเกตเห็นว่าสุนัขอยู่ไม่เป็นสุข กระสับกระส่าย ถ่ายอุจจาระออกมากะปริดกะปรอยมีมูกเลือดปะปนและมักจะเลียตรงทวารหนักบ่อย ๆ เมื่อสังเกตดูใกล้ ๆ จะพบเศษกระดูกสีขาว ๆ อันใหญ่ขวางอยู่ในรูทวาร เจ้าของต้องพาไปรับการผ่าตัดเอากระดูกออก กระดูกมักจะเอาออกได้เมื่อเจ้าตูบ ถูกวางยาสลบเท่านั้น และสัตวแพทย์จะต้องตรวจดูเนื้อเยื่อว่ามีการฉีกขาดบ้างไหม โดยปกติแล้วน้องหมาที่ต้องการการรักษาเมื่อมีเศษกระดูกติดอยู่จะป่วยมาก และจะต้องเอาน้ำออกจากตัว ก่อนการผ่าตัดระหว่างการผ่าตัดจะเขาจะได้รับการให้น้ำทางเส้นเลือด หลังการผ่าตัดก็ต้องได้รับการดูแลที่ดีเช่นกัน..
และทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่า ทำไมจึงต้องห้ามให้กระดูกแก่น้องหมา ไม่น่าเชื่อว่ากระดูกที่เรามองเห็นเป็นแค่กระดูกธรรมดาชิ้นหนึ่ง จะมีอนุภาพทำลายสุขภาพเจ้าตูบถึงเพียงนี้ทางที่ดีเลี่ยงได้ก็ควรเลี้ยงไม่ให้กระดูกกับสุนัข เพราะถึงแม้กระดูกจะเป็นอาหารอันโอชะของสุนัข แต่ถ้าให้เป็นประจำผลดีไม่มีแน่นอนคะ ดังนั้น จงใจแข็งเข้าไว้ เมื่อเห็นตาละห้อยของเจ้าตัวโปรดมายืนขอ “กระดูก” ข้างโต๊ะอาหาร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://pet.kapook.com/view44555.html
cr. pic. https://www.pinterest.com/pin/1027383733727086098/
No comments:
Post a Comment