Sunday, March 26, 2017

ไขข้อสงสัย...ให้สุนัขกินกระดูกได้หรือไม่กันแน่ ?




          หลังจากมีภาพผ่าตัดเศษกระดูกออก จากท้องสุนัขแชร์ไปทั่ว ทำให้หลายคนกังวลใจว่าสุนัขกินกระดูกเข้าไปแล้ว จะเป็นอะไรหรือเปล่า วันนี้เรามีคำตอบไขข้อข้องใจมาฝากกันค่ะ 

          
เมื่อ ไม่นานมานี้มีคนนำภาพสัตวแพทย์ผ่าเศษกระดูกจำนวนมากออกจากท้องของน้องหมาออก มาทางโซเชียลเน็ตเวิร์กต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคนที่ชอบโยนกระดูกให้หมากิน ซึ่งเป็นภาพที่สะเทือนใจเหล่าพลพรรคคนรักสุนัขกันไม่น้อย จนเกิดคำถามต่อมาว่า ตกลงแล้วเนี่ยหมากินกระดูกได้หรือเปล่า ? เพราะบางตัวกินแล้วก็ไม่เห็นจะมีอาการอะไรเลย กระปุกดอทคอมเลยขอคำแนะนำจากเว็บไซต์ healthypetsมาฝากกันค่ะ จะได้หายข้องใจกันไปว่า แท้จริงแล้ว กระดูก เป็นอาหารยอดคุณหรืออาหารอันตรายสำหรับสุนัขกันแน่ 

 สุนัขกินกระดูกได้หรือไม่ ?

          ตามปกติเวลาที่สุนัขกินเหยื่อ ไม่ได้เลือกกินเฉพาะเนื้ออย่างเดียว แต่ยังกินทั้งอวัยวะส่วนอื่น ๆ ซึ่งรวมไปถึงกระดูกของเหยื่อด้วย เพราะกระดูกเหล่านั้นมีไขกระดูกที่เข้าไปช่วยบำรุงกระดูกของสุนัขให้แข็งแรง อีกทั้งการเคี้ยวกระดูกนั้นยังเป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อช่วงขากรรไกรได้ เป็นอย่างดี

          แต่กระดูกที่ไม่แนะนำให้สุนัขกินก็คือ กระดูกต้มสุก เนื่องจากกระดูกที่ผ่านการต้มจะแตกหักออกเป็นเศษเล็กเศษน้อยได้ง่าย และส่วนนี้นี่เองที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในอย่างยิ่งสำหรับสุนัขที่กิน กระดูกต้มสุกเข้าไป แถมยังไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอีกต่างหาก
  
อันตรายจากกระดูมต้มสุก 

          ผลของการให้สุนัขกินกระดูกต้มสุก นอกจากจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในของสุนัข เริ่มตั้งแต่ฟัน ลิ้น กราม หลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะ รวมไปถึงลำไส้ จนอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บแล้ว ยังส่งผมให้เกิดอาการข้างเคียงดังต่อไปนี้

            ช็อกหมดสติ
            อาเจียน
            ท้องเสีย
            เลือดออกทางช่องทวารหนัก
            เสียชีวิต

ประเภทของกระดูกที่สุนัขกินได้

          แต่อย่างไรก็ตามสุนัขยังกินกระดูกได้เหมือนเดิม แต่ควรเปลี่ยนมาให้กระดูกดิบแทน ซึ่งกระดูกดิบก็แบ่งออกเป็น 2ประเภทด้วยกันคือ

          1. กระดูกชิ้นเล็ก เช่น กระดูกไก่ เพราะถึงแม้กระดูประเภทนี้จะไม่มีไขกระดูก แต่เป็นกระดูกนิ่มที่เคี้ยวและย่อยได้ง่าย

          2. กระดูกชิ้นใหญ่ เช่น กระดูกสะโพก หรือกระดูกต้นขาของสัตว์ใหญ่ ถึงแม้ขนาดของมันจะไม่เหมาะกับการเคี้ยว แต่ก็เป็นแหล่งของไขกระดูกที่เป็นสารอาหารสำคัญ แถมยังช่วยรักษาสุขภาพในช่องปากด้วย โดยในขณะที่สุนัขกำลังเคี้ยว เศษเนื้อที่ติดมากับกระดูกก็จะทำหน้าที่เหมือนขนแปรงช่วยขัดผิวฟัน เป็นการลดหินปูนและโอกาสในการเกิดโรคเหงือกอักเสบไปในตัว
  
ข้อควรทำและไม่ควรทำขณะให้สุนัขกินกระดูก

1. ดูแลอย่างใกล้ชิด

          เหตุผลที่เจ้าของควรดูแลสุนัขขณะกำลังกินกระดูอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้สามารถช่วยสุนัขได้ทันท่วงที หากสุนัขมีอาการช็อกหรือเลือดออกในช่องปากหรือทางทวารหนัก นอกจากนี้ยังสามารถนำกระดูกไปทิ้งได้ทันที เมื่อเห็นว่ากระดูกที่สุนัขกินมีขนาดเล็กและน่าจะเป็นอันตรายกับสุนัข

2. ให้สุนัขกินกระดูกที่สดใหม่

          เพราะกระดูกที่สดใหม่ยังมีสารอาหารครบถ้วน แต่ขณะที่สุนัขกำลังกินควรหาจานมารองสักหน่อย ก่อนที่เศษเนื้อหรือนำมันจากกระดูกจะเปรอะเปื้อนพื้นหรือเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน

3. ไม่ควรให้สุนัขที่เป็นโรคตับกินกระดูก

          เนื่องจากในกระดูกดิบมีปริมาณของไขกระดูกมาก หากให้สุนัขที่เป็นโรคตับกินอาจจะเกิดอาการท้องเสียถึงขั้นหมดสติ แต่ทั้งนี้สามารถให้อาหารไขมันต่ำแทนได้
โดยการนำไขกระดูกออกเพื่อลดปริมาณไขมัน

4. เลี่ยงกระดูกชิ้นเล็ก

          ไม่ควรให้สุนัขกินกระดูกเล็ก ๆ ที่สามารถกลืนได้ชิ้นในครั้งเดียว หรือกระดูกที่ถูกตัดแต่งมาแล้ว เช่น กระดูกขาของสัตว์ เพราะกระดูกช่วงรอยตัดอาจแตกเป็นเศษเล็ก ๆ และทำให้เกิดการบาดเจ็บได้

5. งดให้กระดูกหมู

          ไม่ควรให้สุนัขกินทั้งกระดูกหมูและกระดูกซี่โครง เนื่องจากเป็นกระดูกที่ค่อนข้างเปราะและแตกหักง่ายกว่ากระดูกชนิดอื่น ๆ
 
          จริง ๆ แล้วการให้สุนัขกินกระดูกก็เป็นเรื่องดี แต่ทั้งนี้ควรดูด้วยว่าเป็นกระดูกที่ให้สุนัขกินได้หรือไม่ ก่อนที่สุนัขของคุณจะเป็นอันตราย เพราะอาหารที่เจ้าของหยิบยื่นให้กับมือ 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก healthypets.mercola.com
เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/explore/white-lab-puppies/

 

No comments:

Post a Comment