จากข่าวเรื่องสุนัขกัดเด็กจนเสียชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งหลายครา
แต่ปัญหาเรื่องพฤติกรรมความก้าวร้าวของสุนัข ยังไม่มีใครสามารถแก้ไขในต้นตอของปัญหาได้ สิ่งสำคัญที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ คือ ความเข้าใจในธรรมชาติของสุนัขที่เลี้ยง
และลักษณะนิสัยของสุนัข เนื่องจากสุนัขแต่ละสายพันธุ์
อายุ เพศ จะมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ นิสัยดุร้ายที่แสดงออก
เกิดจากปัจจัยหลัก 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ
1. พันธุกรรม
เนื่องจากแต่ละสายพันธุ์มีการปรับปรุง ให้ได้ลักษณะที่ต้องการ เช่น สายพันธุ์ร็อตไวเลอร์ สายพันธุ์เยอรมัน มีการพัฒนาพันธุ์ เพื่อคอยคุ้มกันกองคาราวาน สายพันธุ์นี้ จึงมีลักษณะของความเป็นจ่าฝูง หมายถึง หวงแหนที่อยู่ คอยปกป้องดูแลเจ้าของ และมีความเป็นผู้นำสูง
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้นี้เกิดขึ้นตลอดเวลา ด้วยความตั้งใจและไม่ตั้งใจของเจ้าของ เช่น การขังสุนัขไว้ภายในบ้าน เมื่อมีรถยนต์วิ่งผ่าน สุนัขเห่า แสดงความก้าวร้าวใส่ รถยนต์ได้วิ่งผ่านไป เมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทำให้สุนัขเรียนรู้ว่า เมื่อแสดงความก้าวร้าว จะสามารถปกป้องที่อยู่หรือไล่สิ่งที่ตนไม่ชอบออกไปได้
3. สิ่งแวดล้อมรอบตัว
สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้สุนัขแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา เช่น หากเลี้ยงสุนัขในบริเวณ ที่มีการก่อสร้าง มีคนงานเดินไปมาตลอดเวลา สุนัขจะรู้สึกกังวล เนื่องจากต้องคอยดูแลพื้นที่อยู่ และเจ้าของ จนไม่ได้พักผ่อน ส่งผลให้เครียด และเหนี่ยวนำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้น
สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหน้าหนังสือพิมพ์ เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าของ เนื่องจากสุนัขพันธุ์นี้ เป็นสุนัขที่ถูกพัฒนาเพื่อการใช้ปกป้องอาณาเขตที่อยู่ รวมถึ เด็กกับสุนัขไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน สุนัขจึงไม่ทราบว่าเด็ก คือคนในครอบครัวที่เค้าต้องดูแล แต่คิดว่าเด็กคือคนที่เข้ามาบุกรุกพื้นที่ในยามวิกาล ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น ซึ่งหมายถึงสุนัขได้ทำหน้าที่ของเค้าโดยสมบูรณ์
ทำอย่างไรให้สุนัขหายดุ
สำหรับการเลี้ยงสุนัขเพื่อให้มีความดุร้ายลดลง สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ
1. การพาสุนัขออกไปนอกบ้านในช่วงวัยเด็ก ให้สุนัขได้มีสังคมกับสุนัขตัวอื่น ๆ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เช่น เรียนรู้ที่จะรับการสัมผัสจากคนแปลกหน้า เสียงรถยนต์ แมว หรือสุนัขตัวอื่น ๆ เป็นต้น
2. ฝึกให้สุนัขมีระเบียบวินัย เริ่มจากวินัยภายในบ้าน เช่น การกินอาหารให้เป็นเวลา การขับถ่ายในสถานที่ที่กำหนด เดินในสายจูงโดยไม่ลากเจ้าของ
3. การฝึกเชื่อฟังคำสั่ง เช่น การฝึกให้นั่ง หมอบ ปล่อย หรือคอย เป็นการสอนให้สุนัขเรียนรู้ที่จะทำเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ต้องการในท่าทางที่เหมาะสม รวมถึง เป็นการสร้างภาวะความเป็นผู้นำให้เจ้าของอีกด้วย
4. การให้เวลากับสัตว์เลี้ยง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างสุนัข กับเจ้าของ
5. ทำหมันสุนัขตัวที่มีพฤติกรรมดุร้าย เนื่องจากความดุร้ายนี้ สามารถถ่ายทอดไปยังสุนัขรุ่นต่อไปได้
6. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงดู ที่เป็นการสนับสนุนให้สุนัขมีความเป็นจ่าฝูง เช่น การนอนร่วมเตียงกับเจ้าของ การปล่อยให้สุนัขดึงสายจูง เป็นต้น
ทุก ๆ พฤติกรรมที่สุนัขแสดงออกมานั้น ล้วนเป็นสัญชาตญาณของสุนัขทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อคุณได้นำสุนัขมาเลี้ยงดูแล้ว จะเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแนะนำ สอนให้สิ่งที่ถูกต้องกับสุนัข เพื่อที่คุณและเค้าจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
1. พันธุกรรม
เนื่องจากแต่ละสายพันธุ์มีการปรับปรุง ให้ได้ลักษณะที่ต้องการ เช่น สายพันธุ์ร็อตไวเลอร์ สายพันธุ์เยอรมัน มีการพัฒนาพันธุ์ เพื่อคอยคุ้มกันกองคาราวาน สายพันธุ์นี้ จึงมีลักษณะของความเป็นจ่าฝูง หมายถึง หวงแหนที่อยู่ คอยปกป้องดูแลเจ้าของ และมีความเป็นผู้นำสูง
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้นี้เกิดขึ้นตลอดเวลา ด้วยความตั้งใจและไม่ตั้งใจของเจ้าของ เช่น การขังสุนัขไว้ภายในบ้าน เมื่อมีรถยนต์วิ่งผ่าน สุนัขเห่า แสดงความก้าวร้าวใส่ รถยนต์ได้วิ่งผ่านไป เมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทำให้สุนัขเรียนรู้ว่า เมื่อแสดงความก้าวร้าว จะสามารถปกป้องที่อยู่หรือไล่สิ่งที่ตนไม่ชอบออกไปได้
3. สิ่งแวดล้อมรอบตัว
สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้สุนัขแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา เช่น หากเลี้ยงสุนัขในบริเวณ ที่มีการก่อสร้าง มีคนงานเดินไปมาตลอดเวลา สุนัขจะรู้สึกกังวล เนื่องจากต้องคอยดูแลพื้นที่อยู่ และเจ้าของ จนไม่ได้พักผ่อน ส่งผลให้เครียด และเหนี่ยวนำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้น
สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหน้าหนังสือพิมพ์ เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าของ เนื่องจากสุนัขพันธุ์นี้ เป็นสุนัขที่ถูกพัฒนาเพื่อการใช้ปกป้องอาณาเขตที่อยู่ รวมถึ เด็กกับสุนัขไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน สุนัขจึงไม่ทราบว่าเด็ก คือคนในครอบครัวที่เค้าต้องดูแล แต่คิดว่าเด็กคือคนที่เข้ามาบุกรุกพื้นที่ในยามวิกาล ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น ซึ่งหมายถึงสุนัขได้ทำหน้าที่ของเค้าโดยสมบูรณ์
ทำอย่างไรให้สุนัขหายดุ
สำหรับการเลี้ยงสุนัขเพื่อให้มีความดุร้ายลดลง สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ
1. การพาสุนัขออกไปนอกบ้านในช่วงวัยเด็ก ให้สุนัขได้มีสังคมกับสุนัขตัวอื่น ๆ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เช่น เรียนรู้ที่จะรับการสัมผัสจากคนแปลกหน้า เสียงรถยนต์ แมว หรือสุนัขตัวอื่น ๆ เป็นต้น
2. ฝึกให้สุนัขมีระเบียบวินัย เริ่มจากวินัยภายในบ้าน เช่น การกินอาหารให้เป็นเวลา การขับถ่ายในสถานที่ที่กำหนด เดินในสายจูงโดยไม่ลากเจ้าของ
3. การฝึกเชื่อฟังคำสั่ง เช่น การฝึกให้นั่ง หมอบ ปล่อย หรือคอย เป็นการสอนให้สุนัขเรียนรู้ที่จะทำเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ต้องการในท่าทางที่เหมาะสม รวมถึง เป็นการสร้างภาวะความเป็นผู้นำให้เจ้าของอีกด้วย
4. การให้เวลากับสัตว์เลี้ยง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างสุนัข กับเจ้าของ
5. ทำหมันสุนัขตัวที่มีพฤติกรรมดุร้าย เนื่องจากความดุร้ายนี้ สามารถถ่ายทอดไปยังสุนัขรุ่นต่อไปได้
6. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงดู ที่เป็นการสนับสนุนให้สุนัขมีความเป็นจ่าฝูง เช่น การนอนร่วมเตียงกับเจ้าของ การปล่อยให้สุนัขดึงสายจูง เป็นต้น
ทุก ๆ พฤติกรรมที่สุนัขแสดงออกมานั้น ล้วนเป็นสัญชาตญาณของสุนัขทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อคุณได้นำสุนัขมาเลี้ยงดูแล้ว จะเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแนะนำ สอนให้สิ่งที่ถูกต้องกับสุนัข เพื่อที่คุณและเค้าจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
โรคพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
No comments:
Post a Comment