ข้อควรจำและเคล็ดลับสำหรับเจ้าของสุนัขที่อ้วน
(Dogazine)
โดย สพ.ญ.พรวดี ยังสุขสถาพร
เจ้าของควรจำไว้เสมอว่า ความอ้วนนั้นจัดเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ส่วนสำคัญที่สุดในการลดน้ำหนักให้กับสุนัข ก็คือ เจ้าของกว่า 50% ของสุนัขอ้วนลดน้ำหนักไม่สำเร็จ เพราะเจ้าของบางคนเห็นสุนัขมาขออาหารหรือขนมก็อดให้ไม่ได้ จึงทำให้การลดน้ำหนักไม่สำเร็จ
การลดน้ำหนักไม่ใช่การลดปริมาณอาหาร แต่เป็นการลดพลังงานและไขมันที่ได้จากอาหาร
ขนมสุนัขที่ให้พลังงาน และอาจมีส่วนทำให้อ้วน ดังนั้น เมื่อสุนัขเริ่มโปรแกรมลดน้ำหนัก เจ้าของต้องแจ้งสัตวแพทย์ด้วยว่าปกติให้ขนมสุนัขอะไรบ้าง ให้มากน้อยแค่ไหน
เจ้าของต้องแจ้งให้กับทุกคนในบ้านทราบด้วยว่า สุนัขของตนกำลังเริ่มโปรแกรมลดน้ำหนัก และแจ้งถึงข้อควรปฏิบัติแก่ทุกคนในบ้าน
อย่าใจร้อน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การลดน้ำหนักที่ดีต้องไม่เร็วเกินไป ถ้าลดลงเร็วเกินไปอาจทำให้สุนัขสุขภาพทรุดโทรมได้
สังเกตว่าสุนัขมีอาการหิว หรือรู้สึกไม่อิ่มหรือไม่ หลังจากเปลี่ยนมาเป็นอาหารที่ใช้ในช่วงลดน้ำหนัก ถ้ามีอาการหิวตลอดเวลา ควรกลับไปแจ้งให้สัตวแพทย์ที่ทำการรักษาหรือให้คำแนะนำทราบ และปรับปริมาณหรือเปลี่ยนชนิดอาหารที่ให้กิน อาจใช้วิธีคำนวณปริมาณอาหารทั้งหมดที่ต้องให้ต่อวัน แล้วแบ่งให้วันละ 3-4 มื้อก็ได้
ถ้าสุนัขไม่ยอมกินอาหารลดน้ำหนัก อาจเริ่มจากให้อาหารเดิมผสมกับอาหารลดน้ำหนัก แล้วค่อย ๆ ลดอาหารเดิมลงไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายเป็นอาหารลดน้ำหนักอย่างเดียว
ถ้าเลี้ยงสุนัขหลายตัวในบ้าน จำเป็นต้องแยกชามอาหารของสุนัขที่อ้วนออกมาต่างหาก และต้องกันไม่ให้สุนัขไปแอบกินอาหารของตัวอื่นด้วย
การป้องกันโรคอ้วนในสุนัขนั้น เจ้าของต้องคอยหมั่นสังเกตสุนัข ถ้ารู้สึกว่าสุนัขเริ่มมีน้ำหนักตัวมากขึ้น ควรไปพบสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และเริ่มการควบคุมน้ำหนัก
โดย สพ.ญ.พรวดี ยังสุขสถาพร
เจ้าของควรจำไว้เสมอว่า ความอ้วนนั้นจัดเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ส่วนสำคัญที่สุดในการลดน้ำหนักให้กับสุนัข ก็คือ เจ้าของกว่า 50% ของสุนัขอ้วนลดน้ำหนักไม่สำเร็จ เพราะเจ้าของบางคนเห็นสุนัขมาขออาหารหรือขนมก็อดให้ไม่ได้ จึงทำให้การลดน้ำหนักไม่สำเร็จ
การลดน้ำหนักไม่ใช่การลดปริมาณอาหาร แต่เป็นการลดพลังงานและไขมันที่ได้จากอาหาร
ขนมสุนัขที่ให้พลังงาน และอาจมีส่วนทำให้อ้วน ดังนั้น เมื่อสุนัขเริ่มโปรแกรมลดน้ำหนัก เจ้าของต้องแจ้งสัตวแพทย์ด้วยว่าปกติให้ขนมสุนัขอะไรบ้าง ให้มากน้อยแค่ไหน
เจ้าของต้องแจ้งให้กับทุกคนในบ้านทราบด้วยว่า สุนัขของตนกำลังเริ่มโปรแกรมลดน้ำหนัก และแจ้งถึงข้อควรปฏิบัติแก่ทุกคนในบ้าน
อย่าใจร้อน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การลดน้ำหนักที่ดีต้องไม่เร็วเกินไป ถ้าลดลงเร็วเกินไปอาจทำให้สุนัขสุขภาพทรุดโทรมได้
สังเกตว่าสุนัขมีอาการหิว หรือรู้สึกไม่อิ่มหรือไม่ หลังจากเปลี่ยนมาเป็นอาหารที่ใช้ในช่วงลดน้ำหนัก ถ้ามีอาการหิวตลอดเวลา ควรกลับไปแจ้งให้สัตวแพทย์ที่ทำการรักษาหรือให้คำแนะนำทราบ และปรับปริมาณหรือเปลี่ยนชนิดอาหารที่ให้กิน อาจใช้วิธีคำนวณปริมาณอาหารทั้งหมดที่ต้องให้ต่อวัน แล้วแบ่งให้วันละ 3-4 มื้อก็ได้
ถ้าสุนัขไม่ยอมกินอาหารลดน้ำหนัก อาจเริ่มจากให้อาหารเดิมผสมกับอาหารลดน้ำหนัก แล้วค่อย ๆ ลดอาหารเดิมลงไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายเป็นอาหารลดน้ำหนักอย่างเดียว
ถ้าเลี้ยงสุนัขหลายตัวในบ้าน จำเป็นต้องแยกชามอาหารของสุนัขที่อ้วนออกมาต่างหาก และต้องกันไม่ให้สุนัขไปแอบกินอาหารของตัวอื่นด้วย
การป้องกันโรคอ้วนในสุนัขนั้น เจ้าของต้องคอยหมั่นสังเกตสุนัข ถ้ารู้สึกว่าสุนัขเริ่มมีน้ำหนักตัวมากขึ้น ควรไปพบสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และเริ่มการควบคุมน้ำหนัก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โดย
สพ.ญ.พรวดี ยังสุขสถาพร
No comments:
Post a Comment