Monday, September 11, 2017

21จุดที่เจ้าตูบชอบให้เจ้านายจั๊กจี้ให้



เราลองมาสร้างความพอใจให้กับเจ้าตูบโดยการสัมผัสจุดต่าง ๆ ตามร่างกายของมันเพื่อให้มันเกิดความรู้สึกสบายและผ่อนคลายกันดีกว่า จุดต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ ...

1. บริเวณกรามของสุนัข สุนัขอาจจะมีจุดระคายเคืองและแผลระบบอยู่ในช่องปากของมัน ซึ่งคุณอาจจะเห็นมันเอาศีรษะด้านข้างถูไปถูมากับพื้นหรือขอบเฟอร์นิเจอร์ คุณสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ ถ้าคุณใช้นิ้วของคุณถูเบา ๆ ไปตามบริเวณกรามด้านล่าง ไม่ใช่บริเวณใต้คางนะครับ (ให้ระวังด้วยเพราะว่าสุนัขบางตัวอาจจะกัดเอาก็ได้ ถ้าคุณเอามือเข้าไปใกล้บริเวณปากของมัน) แต่ถ้ากรามของมันดูเหมือนเจ็บมาก จนถึงขนาดว่ามีกลิ่นเหม็นและมีอาการบวม สุนัขของคุณต้องการมากกว่าการลูบเบา ๆ แล้วหละ คุณควรจะพาเค้าไปพบสัตวแพทย์จะดีที่สุด

2. บริเวณนอกหู สุนัขมักจะมีปัญหามากมายกับขี้หู และเห็บหมัดที่อยู่ในรูหูของมัน โดยที่มันไม่สามารถใช้นิ้วล้วงแค๊ะแกะเกาเอามันออกมาได้ มันจะรู้สึกดีมากถ้าได้คุณช่วยเกาเบา ๆ ให้บริเวณด้านนอก

3. บริเวณใต้หูใกล้กับขากรรไกร จั๊กจี้บริเวณต่ำลงมาจากหูไปทางขากรรไกรประมาณ 1- 2 นิ้ว ควรจะทำเบา ๆ บริเวณนี้ภายในเป็นต่อมน้ำลายและต่อมน้ำเหลืองซึ่งมันจะรับสัมผัสต่าง ๆ ได้เร็วมาก

4. บริเวณหน้าอก Barbara Woodhouse นักพฤติกรรมศาสตร์สัตว์เลี้ยง ได้กล่าวว่า สุนัขจะเหมือนโดนสะกดจิตให้หลับถ้าเราจั๊กจี้เบา ๆ ตรงบริเวณหน้าอกซึ่งอยู่ระหว่างขาหน้าทั้งสอง โดยใช้นิ้วลูบขึ้นและมองหน้ามัน

5. บริเวณขาหนีบ คนส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณนี้ของสุนัข แต่ผู้ที่มีความรู้ลึกเรื่องสัตว์กลับทำตรงกันข้าม เค้าเชื่อกันว่าการสัมผัสบริเวณขาหนีบของสุนัขนั้นจะเป็นการสื่อถึงมิตรภาพ ที่ดีที่เรามีให้กับมัน " เหมือนกับการเช็คแฮนด์ของคนเรา " สังเกตุได้ว่าสุนัขมักจะหงายหลังและโชว์บริเวณขาหนีบ เมื่อมันมีความรู้สึกอยากจะเล่นกับเราเสมอ

6. บริเวณด้านหน้าของหาง จุดนี้จะเป็นจุดกระตุ้นอารมณ์ทางเพศให้กับมัน ลองสังเกตุว่าถ้าเราเกา หรือถูเบา ๆ บริเวณนี้ สุนัขจะเริ่มยกขาหลังขึ้นมา

7. บริเวณหลังหู

8. บริเวณใต้คางและคอ

9. บริเวณด้านหลังศีรษะที่เป็นฐานของลำคอ ตรงส่วนนี้จะมีกล้ามเนื้อซึ่งสุนัขส่วนมากจะชอบให้บีบนวดเบา ๆ

10. บริเวณท้อง มันจะชอบให้เราถูไปถูมาเบา ๆ

11. บริเวณระหว่างหูทั้ง 2 ข้าง ถ้าเราลูบเบา ๆ บริเวณนี้ลูกสุนัขจะชอบมาก มันจะเพลินจนหลับไปเลย

12. บริเวณขมับทั้งสองข้าง

13. บริเวณบนสุดของศีรษะ ให้แยกขนบริเวณนั้นออกแล้วใช้นิ้วมือลูบเป็นวงกลมเบา ๆ ล้อมรอบบริเวณส่วนนั้น

14. บริเวณแนวตรงเหนือจมูก ตรงส่วนนี้ต้องสัมผัสเบามาก ๆ เพราะว่าจะเป็นบริเวณส่วนที่ไม่มีขน ถ้าต้องการให้เบาจริง ๆ อาจจะใช้หลังมือแตะเบา ๆ มันจะทำให้สุนัขยบางตัวรู้สึกเคลิบเคลิ้ม

15. บริเวณด้านข้างลำคอ อาจจะใช้มือของเราวางไว้รอบคอสุนัข แล้วก็รีดขึ้นรีดลง อาจจะทำทั้งสองข้างพร้อมกันก็ได้

16. ตามแนวกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง ควรจะใช้มือทั้งสองข้างถูไปพร้อม ๆ กัน แต่อย่าให้แรงมาก

17. ตามด้านข้างลำตัว ลูบลงมาตามซี่โครง สุนัขบางตัวจะชอบ แต่บางตัวก็จะรีบเดินหนีไป

18. บริเวณรักแร้ของขาหน้า อย่าสัมผัสตรงจุดนี้แรงเกินไป สุนัขส่วนมากชอบให้ถูเบา ๆ จากรักแร้ลากไปตามลำตัว

19. บริเวณด้านข้างของปาก ใช้นิ้วมือเดียวลูบบริเวณด้านข้างห่างจากปากไปประมาณ 1-2 นิ้ว

20. บริเวณช่วงต่อระหว่างช่วงหลังกับขา ให้ใช้หัวแม่มือกดและนิ้วชี้กดเบา ๆ จะสังเกตุเห็นได้ว่าเวลาสุนัขสองตัวเล่นกัน มักที่จะชอบงับกันเบา ๆ บริเวณนี้ เพราะจะทำให้มันรู้สึกดี แต่ห้ามทำกับสุนัขที่มีอายุมากเพราะสุนัขที่แก่แล้วมักจะเป็นไขข้ออักเสบ

21. บริเวณระหว่างนิ้วเท้า สุนัขบางตัวชอบที่จะถูกกดบริเวณเนื้อบาง ๆ ระหว่างนิ้วเท้า แต่บางตัวก็อาจจะจั๊กจี้แล้วดึงเท้าหนี ให้คุณรอสักพักแล้วทำใหม่

มีเวลาว่างเมื่อไหร่ ก็ลองนำไปทำตามดูแล้วกัน สุนัขของคุณจะได้ สบ๊าย .. สบาย ผ่อนคลาย และชอบที่จะอยู่ใกล้ชิดคุณมากขึ้นกว่าเดิมอีกยังไงละครับ แต่ก็ขอเตือนว่า ต้องใช้วิธีเหล่านี้กับสุนัขที่เชื่องแล้วเท่านั้นนะครับ ไม่อย่างนั้นมันอาจจะกัดเอาได้ครับ

ข้อมูล จาก lemononline
แหล่งที่มา  http://bbznet.pukpik.com

Thursday, September 7, 2017

อยากรู้มั้ย....น้องหมากำลังพูดอะไรกับคุณอยู่?



  • ดีใจจังที่เจอเธอ
    เราคุ้นเคยกับอาการนี้เวลาที่เพิ่งเจอเค้าหลังกลับมาจากที่ทำงาน เริ่มต้นด้วยเสียงเห่าที่แหลมสูง อาจทำ
    เสียงอี๊ดๆ ด้วย หางจะแกว่งในแนวระดับอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งพยายามเข้ามาหาเรา หูลีบไปข้างหลังเหมือนยิ้มให้ด้วยความยินดีปรีดา ทำหัวพยักขึ้นลงและอาจกระโดดใส่หรืองับมือด้วยความยินดีหากเราไม่ยอมนั่งลงทักทาย
  • มาเล่นกันหน่อยไหม
    มีท่าเฉพาะของเค้าเลยคือเอาขาหน้าและหน้าอกแนบพื้น ทำก้นโด่งๆเข้าไว้ และแกว่งหางไปมาอย่างดีใจ และอาจเอียงคอเอาขาข้างนึงเขี่ยพื้น ไม่มีใครอดทนไม่หยอกล้อกับท่าท่างเช่นนี้ได้
  • อยู่ห่างๆไว้
    จะเห่าเตือนด้วยโทนเสียงต่ำด้วยเสียงที่เคร่งเครียด หูตั้ง ขนหลังตั้งชัน ชูหางและยืนอย่างมั่นคงอยู่ใน
    ท่าเตรียมพร้อม
  • มีบางสิ่งผิดปรกติ ให้ไปไกลๆ
    นอกจากเห่าเตือนแล้ว อาจทำหน้านิ่วคิ้วขมวดด้วย และยังทำเสียงขู่ครางในลำคอ
  • ฉันกลัว
    ก็จะก้มหน้าค่อมตัวลงต่ำหรือหมอบลงกับพื้นหรือหลบสายตา หัวตก หูและหางตก
  • ฉันเศร้าเสียใจมาก
    เราเห็นการทำหน้าเศร้าทั้งหมดจากจากลูกตาที่เศร้าโศกเสียใจ ไม่มีก็อะไรที่บาดหัวใจไปกว่าสายตา
    ที่ห่อเหี่ยวหดหู่ เจ้าปุกปุยที่แสนเศร้านี้ต้องการความสนใจและการกอดที่ยิ่งใหญ่จากคุณ!
  • ฉันรักเธอ
    นี่เป็นอาการที่ทุกๆคนใฝ่ฝันถึง คืออาการที่เคล้าเคลียไม่ยอมห่าง มองเราด้วยสายตาชื่นชม ทำหูตูบ
    หน้ายิ้มให้เรา บางครั้งอาจจูบหรือเลียหน้าคุณพร้อมทั้งแกว่งหางไปมาด้วยความสุข

แหล่งที่มา   http://pirun.ku.ac.th
เครดิตภาพ   https://www.pinterest.com/pin/88172105198030706/

Saturday, September 2, 2017

รู้ทันปัญหา เมื่อน้องหมาเกิดภาวะ "กระเพาะบิด"



         โดยปกติแล้ว ในหน้าร้อนจะมีโรคหลายโรคที่เป็นอันตรายและทำให้สุนัขเกิดอาการป่วยตามมา ไม่ว่าจะเกิดจากอาหารที่สุนัขกิน พฤติกรรมบางอย่างที่โน้มนำให้เกิดโรค หรือลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วเมื่อมีอากาศที่ร้อนจัดเจ้าของสัตว์หลายคนมักชอบให้ สุนัขกินน้ำและอาหารเยอะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่สัตว์เลี้ยงของตนได้อย่างไม่คาดคิด 

         บทความในตอนนี้จะกล่าวถึงโรคที่เป็นอันตรายและอาจส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้เป็นอันดับต้น ๆ นั่นก็คือ "โรคกระเพาะบิด" (Gastric dilatation and volvulus)

โรคกระเพาะบิด (Gastric dilatation and volvulus)

         โรคกระเพาะบิด หรือเรียกสั้น ๆ ว่า GDV คือภาวะที่กระเพาะอาหารเกิดการขยายขนาดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการสะสมของแก๊ส น้ำ หรืออาหารที่สุนัขกินเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ภาวะท้องอืด ในคนนั่นเอง และเมื่อกระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นระยะเวลานานร่วมกับกิจกรรมของสุนัข หรือภาวะบางอย่างที่โน้มนำทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารที่ผิดปกติ ไป โดยอาจเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนไปตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะได้ตั้งแต่ 180-270 องศา ส่งผลให้เกิดการอุดตันของหลอดอาหารและส่วนปลายของกระเพาะอาหาร จึงไม่สามารถที่จะระบายแก๊สหรือของเหลวดังกล่าวได้

         ทั้งนี้ สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความผิดปกตินี้ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด ว่า เกิดจากการที่กระเพาะขยายขนาดก่อนแล้วค่อยเกิดการบิดหมุน หรือเกิดการบิดหมุนหรือการขัดขวางการบีบตัวของกระเพาะอาหารก่อนแล้วค่อยทำ ให้กระเพาะขยายตามมา

อาการของโรคกระเพาะบิด

         GDV เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยอาการเริ่มแรกที่เป็นสัญญาณเตือนภัยให้เจ้าของสัตว์สังเกตความผิดปกติของ สุนัขที่ตนเลี้ยงว่าเข้าข่ายโรคกระเพาะบิดก็คือ สุนัขที่ปกติสุขภาพแข็งแรงดี และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่อยู่ ๆ ก็มีขนาดของช่องท้องขยายใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะช่องท้องส่วนต้นจะโป่งพองมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว เมื่อใช้มือเคาะตรงบริเวณท้องที่โป่งพองขึ้นจะได้ยินเสียงที่จำเพาะ เหมือนคนตีกลอง (เป็นเสียงที่เกิดจากการสะท้อนของแก๊สที่สะสมในกระเพาะอาหาร) ร่วมกับสุนัขจะแสดงอาการ ดังนี้

         **กระสับกระส่าย หายใจเร็ว และหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วโก่งตัว 

         **ทำท่าทางคล้ายจะอาเจียน แต่ไม่มีอะไรออกมา 

         **น้ำลายไหลเยอะกว่าปกติ 

         **สีของเยื่อเมือกหรือเหงือกเริ่มแดง 

         **เมื่อเวลาผ่านไปสุนัขจะเริ่มมีอาการเซื่องซึมปวดท้อง 

         **ถ้าเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารร่วมด้วย สุนัขจะเริ่มมีอาการโคม่าและมีโอกาสช็อกสูงมาก 

         **สำหรับเจ้าของสัตว์ ถ้าพบลักษณะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ให้สันนิษฐานว่าสุนัขของตนกำลังอยู่ ในภาวะฉุกเฉินและให้รีบนำสุนัขส่งโรงพยาบาลสัตว์ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด

         ส่วนใหญ่โรคกระเพาะบิดมักมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 25-33% สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เจ้าของสัตว์นำสุนัขส่งถึงมือ สัตวแพทย์ไม่ทัน เพราะอาจสังเกตเห็นอาการผิดปกติเมื่อสุนัขเป็นมานานหลายชั่วโมง และสุนัขเริ่มมีอาการโคม่าแล้ว กลไกการเกิดภาวะนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและส่งผลเสียต่อระบบร่าง กายหลายระบบ คือ...

         เมื่อกระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่ขึ้น จะไปกดการไหลเวียนของหลอดเลือดที่จะนำเลือดไปสู่หัวใจส่งผลให้ปริมาณเลือด เข้าสู่หัวใจลดลง และทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ เกิดภาวะความดันต่ำ ร่างกายขาดเลือดและสารน้ำอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกตามมา ร่างกายจึงส่งสัญญาณให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ในขณะที่ปริมาณเลือดที่เข้าสู่หัวใจลดลง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดเลือดและทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของหัวใจห้องล่างให้ส่งสัญญาณกระตุ้นการเต้นของกล้าม เนื้อหัวใจขึ้น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและไม่สม่ำเสมอ

        
 ในขณะเดียวกันกระเพาะที่ขยายขนาดขึ้นจะไปกดกล้ามเนื้อกระบังลมทำให้เกิดภาวะ หายใจลำบาก และขาดออกซิเจนตามมา ถ้าเกิดภาวะกระเพาะบิดด้วยแล้วมีโอกาสทำให้กระเพาะขยายใหญ่มากจนเกิดการฉีก ขาดของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร หรือทำให้ผนังกระเพาะยึดมากจนเปื่อย เวลาที่ทำการรักษาโดยสอดท่อระบายแก๊สมีโอกาสทำให้ผนังกระเพาะทะลุตามมาด้วย ผลกระทบที่ตามมาหลังจากเกิดความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับการ ขาดออกซิเจน อาจส่งผลทำให้ผนังของกระเพาะอาหารเกิดเป็นเนื้อตาย และอวัยวะข้างเคียงเกิดความเสียหาย เช่น ตับและม้ามโตและขาดเลือด เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิด โรคกระเพาะบิด 

         1. สายพันธุ์ GDV มักพบในสุนัขสายพันธ์ใหญ่ (large and giant breed) เช่น พันธุ์เกรทเดน (Great Dane) เซนต์ เบอร์นาร์ด (Saint Bernard) โกลเดน รีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) บ็อกเซอร์ (Boxer) โดเบอร์แมนน์ (Dobermann Pinscher) ร็อตต์ไวเลอร์ (Rottweiler) บัสเซ้ทฮาวนด์ (Basset Hound) เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherd) คอลลี่ (Collie) ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) และดัชชุนด์ (Dachshund) เป็นต้น 

         แต่อาจจะพบโรคนี้ได้ในสุนัขสายพันธุ์กลาง เช่น พันธุ์ชาร์ไป่ (Shar Pei) เชาเชา (Chao Chao) ค็อกเกอร์ (Cocker Spaniel) เป็นต้น มีบางรายงานพบโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์เล็กได้แต่น้อยมาก ดังนั้นถ้าเจ้าของสัตว์ท่านใดที่เลือกเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยง ข้างต้นนี้ควรทำความเข้าใจในอาการและกลไกการเกิดโรคนี้อย่างถ่องแท้ ในต่างประเทศนิยมทำการผ่าตัดเพื่อเย็บผนังกระเพาะอาหารของสุนัขที่มีสาย พันธุ์ดังกล่าว ให้ติดกับผนังช่องท้อง เรียกว่าวิธี Gastropexy โดยเฉพาะในเพศเมียนิยมทำในขณะทำการผ่าตัดทำหมัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระเพาะบิดในภายหลัง

         2. ลักษณะโครงร่างของร่างกาย GDV มักพบในสุนัขพันธุ์ที่มีชี่องอกแคบและลึก เช่น พันธุ์เกรทเดน (Great Dane) เป็นต้น

         3. พันธุกรรม GDV เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม สุนัขที่มีประวัติว่าสายพันธุ์ของตนเคยเป็นโรคนี้มาก่อนไม่ควรนำมาเป็นพ่อ พันธุ์หรือแม่พันธุ์

         4. อายุ สุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าสุนัขอายุ 2-4 ปีถึงสองเท่า

         5. เพศ สุนัขเพศผู้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าสุนัขเพศเมียถึงสองเท่า และมีรายงานว่าสุนัขที่ทำหมันแล้วมีโอกาสการเกิดโรคน้อยลง

         6. น้ำหนัก น้ำหนักของร่างกายที่ตำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมากกว่า

         7. ลักษณะนิสัยในการกินอาหาร GDV มักพบในสุนัขที่กินอาหารมื้อเดียวต่อวัน ทำให้สุนัขเกิดอาการหิวได้ง่าย จึงมีนิสัยชอบกินอาหารเร็ว และกินเอยะซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากกว่า รวมทั้งสุนัขที่ชอบวิ่ง กลิ้งตัวหรือให้ออกกำลังกายอย่างหนักในทันที หลังจากที่กินอาหารมามักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด GDV ได้บ่อยที่สุด 

         ดังนั้น วิธีป้องกันคือแบ่งให้อาหาร 2-3 มื้อต่อวัน และงดกิจกรรมการออกกำลังกายต่าง ๆ ทั้งก่อนและภายหลังการกินอาหาร และไม่ควรให้กินน้ำในทันทีหลังจากให้อาหารสุนัข โดยทั่วไปควรรอประมาณ 1-2 ชั่วโมง ควรฝึกให้สุนัขมีนิสัยการกินที่ช้าลงในบางที่มีการออกแบบชามอาหารให้สุนัข กินอาหารได้ลำบากขึ้นด้วย แต่มักไม่ค่อยได้ผลนัก และในช่วงหน้าร้อนเนื้ออย่าให้สุนัขกินน้ำหรืออาหารมากเกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะมีน้ำหนักมาก และเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้สูง

         8. ลักษณะและคุณภาพของอาหาร การให้อาหารที่มีแบบเดียวกันและขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร จะทำให้สุนัขมีนิสัยที่กินเร็ว ชนิดของอาหารรวมทั้งองค์ประกอบของไขมันความชื้น หรือปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลถึงการย่อยอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้ จึงควรให้อาหารที่มีคุณภาพดี สดใหม่ และมีองค์ประกอบของโปรตีนอย่างน้อย 30% มีไฟเบอร์ อย่างน้อย 3% และมีปริมาณไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงพืชตระกูลถั่วและยีสต์

         9. การแสดงออกทางอารมณ์ ถ้าเลี้ยงสุนัขหลายตัวในบ้าน การให้อาหารในบริเวณเดียวกันพร้อมๆ กันอาจทำให้สุนัขรีบกินอาหาร หรือเกิดความเครียดได้ จึงควรแยกให้อาหารแต่ละตัวไม่ให้มองเห็นกันได้จะดีกว่า สุนัขที่มีความเครียด มีนิสัยขี้กลัว หรือชอบอาละวาด ยกตัวอย่างเช่น สุนัขอยู่ระหว่างการเดินทาง หรือสุนัขที่เพิ่งปล่อยจากการถูกขังในกรงนานๆ หรือเวลาที่จะนำสุนัขมาโรงพยาบาลและต้องมีการจับบังคับ จะเพิ่มความเครียดแก่สุนัข ส่งผลให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลงจึงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น GDV มากกว่า

         10. โรคหรือความผิดปกติที่เคยพบมาก่อน เช่น โรคที่เกิดความผิดปกติ ของม้ามจนต้องทำการตัดม้ามออกทั้งหมดหรือโรค IBD (Inflammatory Bowel Disease) มักทำให้ตำแหน่งของกระเพาะอาหารอยู่ผิดที่ และเกิดการบิดหมุนได้ง่ายหรือความผิดปกติที่เกิดจากการหย่อนหรือตึงเกินไป ของเอ็นที่ยืดกระเพาะก็ส่งผลให้เกิด GDV ได้เช่นเดียวกัน

วิธีการรักษา โรคกระเพาะบิด

         จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ถ้าสงสัยว่า สุนัขมีปัจจัยเสี่ยง และมีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะบิด ให้รีบนำสุนัขส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เมื่อสัตวแพทย์ตรวจและประเมินสภาพร่างกายแล้ว
 ในขั้นตอนแรกสัตวแพทย์จะทำการให้สารน้ำและให้สุนัขดมออกซิเจนเพื่อแก้ไขภาวะ ช็อกก่อน จากนั้นควรตรวจดูว่าหัวใจมีการเต้นที่ผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรรีบให้ยาในทันที จากนั้นควรรีบทำการระบายแก๊ส ของเหลว และอาหารที่สะสมออกจากกระเพาะโดยการสอดท่อเข้าทางปาก และทำการล้างท้องเพื่อระบายส่วนของอาหารที่มีการหมักอยู่ในกระเพาะออก 

         และควรรอให้สัตว์อยู่ในสภาวะที่คงที่ก่อนที่จะนำสุนัขเข้าห้องผ่าตัด โดยส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จในการผ่าตัดถ้าทำการแก้ไขภาวะช็อกได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากตรวจพบอาการ ในกรณีที่สอดท่อเข้าทางปากไม่ได้ เพราะมีการบิดหมุนอย่างถาวร ต้องใช้เข็มเจาะระบายแก๊สในกระเพาะออกก่อนและอาจต้องทำหลายครั้งในระหว่าง ที่รอแก้ไขภาวะช็อก เมื่อสุนัขอยู่ในสภาวะที่คงที่แล้วจึงรีบนำสุนัขเข้าห้องผ่าตัด

         จุดประสงค์ในการผ่าตัดนั้น เพื่อแก้ไขตำแหน่งของกระเพาะอาหารให้กลับเข้าที่ และทำการตรวจสอบดูว่ากระเพาะอาหาร และม้ามมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน ถ้า เกิดเป็นเนื้อตายต้องทำการตัดส่วนนั้นทิ้งไป เพื่อป้องไม่ให้เกิดผลกระทบตามมาต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายเมื่อเกิดความเสียหายของอวัยวะนั้นๆ จากนั้นควรทำการเย็บตรึงผนังกระเพาะอาหารกับผนังช่องท้องอย่างถาวร เพื่อป้องกันการบิดตัวของกระเพาะที่มักจะเกิดขึ้นใหม่เสมอ

       
  ภายหลังการผ่าตัดจำเป็นที่จะต้องให้สัตว์พักฟื้นที่โรงพยาบาลและต้องได้รับ การดูแลอย่างใกล้ชิดจากสัตวแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อให้สารน้ำ ให้ออกซิเจน และปรับสภาพเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ามีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือไม่ ตรวจเช็คอุณหภูมิของร่างกายและความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคอยระมัดระวัง ผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เช่น การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร การเกิดเนื้อตายของอวัยวะใกล้เคียง ตรวจเช็คการสร้างแก๊สขึ้นใหม่ในกระเพาะ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผนังของกระเพาะอาหารยังหดตัวได้ไม่ดีพอภายหลังจากที่ มีการขยายขนาดมาก 

         นอกจากนี้ ต้องให้ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา ภายหลังการผ่าตัด 12 ชั่วโมงแรกควรเริ่มให้กินน้ำในปริมาณน้อยแต่วันละหลายครั้ง และเริ่มให้กินอาหารอ่อน ไขมันต่ำ ภายหลังการผ่าตัด ประมาณ 18-24 ชั่วโมง เพื่อฟื้นฟูและเริ่มให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เมื่อสุนัขเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เริ่มเดินได้กินน้ำและอาหารได้ปกติ จึงค่อยส่งสุนัขกลับบ้าน

         หากเจ้าของสุนัขได้อ่านบทความนี้แล้ว หวังว่าเมื่อสุนัขป่วยด้วยโรคกระเพาะบิดจะมีอัตรารอดชีวิตที่ดีขึ้น เพราะส่วนใหญ่ความล้มเหลวในการรักษาโรคนี้เกิดตั้งแต่ที่เจ้าของนำสุนัขส่ง โรงพยาบาลช้าไป หากเกิดกระเพาะบิดมานานกว่า 6-12 ชั่วโมง โดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขภาวะช็อกอัตราการตายอาจสูงถึง 50-80% ดังนั้น การทำความเข้าใจในอาการ กลไกการเกิดโรค ผลกระทบที่ตามมา รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระเพาะบิด คงช่วยให้เจ้าของสามารถตระหนักและเข้าใจถึงภัยอันตรายเมื่อสุนัขของตนเป็น โรคนี้ได้

แหล่งที่มา  http://pet.kapook.com / Dogazine
Dog Care เรื่องโดย : โรงพยาบาลสัตว์บางแค 1
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/747597606904832337/